แนวทางการเพิ่มยอดขายออนไลน์ โดยประยุกต์ใช้สุนทรียสาธก: กรณีศึกษา หจก.บิ๊กต้อย 2018
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจุดร่วมและจุดเด่นที่เป็นแนวทางการปฏิบัติที่ดีเลิศ (Best Practice) ในการขายผลิตภัณฑ์และบริการ และเพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มยอดขายผ่านช่องทางการขายออนไลน์ของ หจก.บิ๊กต้อย 2018 เพื่อสร้างยอดขาย และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในยุคดิจิทัล มีการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 ราย และค้นหาปัจจัยที่เป็นจุดร่วม จุดโดดเด่น และวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการแข่งขันวิเคราะห์ซออาร์ ผลการศึกษาพบว่า มีปัจจัยที่เป็นจุดร่วมสำคัญสุด คือ สินค้าหลากหลาย การบริการของพนักงาน (การแนะนำสินค้า การตอบคำถามโปรโมชั่น) การอัพเดตข้อมูล สินค้าใหม่ๆ และโปรโมชั่นในช่องทางออนไลน์ Facebook และกิจกรรมอื่น ๆ ที่มีการแชร์ผ่าน Facebook ปัจจัยที่เป็นจุดโดดเด่นแก่ Line Account Official และจากการวิเคราะห์ซออาร์ (SOAR Analysis) พบว่า จุดแข็งที่โดนเด่นที่สุด ได้แก่ ทำเลที่ตั้งใกล้กลุ่มเป้าหมาย โอกาส ได้แก่ กระแสนิยมในสังคมออนไลน์ สิ่งที่อยากจะเป็น ได้แก่ เป็นผู้นำค้าส่งและค้าปลีกในพื้นที่ท้องถิ่น และผลลัพธ์ ได้แก่ มีการติดตามจากสังคมออนไลน์เพิ่มขึ้น 20 คนต่อเดือน หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ยอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากผลการศึกษาจึงนำข้อมูลที่ได้ไปจัดทำโครงการโดยโครงการระยะสั้นมีทั้งหมด 2 โครงการ ได้แก่ 1. กด Like & Share รับโชค 2 ต่อ ระยะเวลาการดำเนินโครงการ กุมภาพันธ์ – มีนาคม2565 ทางร้านมียอดขายเติบโตเดือนละ 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 10 ของยอดขายรวม โดยมียอดกดไลค์เพิ่มขึ้นจำนวน 100 คน และ 2. บิ๊กต้อยติ๊กต็อกจากระยะเวลาดำเนินการเดือน กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2565 พบว่าการตอบสนองของลูกค้าที่ซื้อสินค้าผ่าน Facebook Fan Page ของทางร้านมียอดขายเติบโตเดือนละ 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 10 ของยอดขายรวม และมียอดกดไลค์เพิ่มขึ้น 100 คน สำหรับโครงการระยะยาวได้วางแนวทางการดำเนินงานไว้ เพื่อที่จะนำไปปฏิบัติในอนาคตต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิทยาลัยบัณิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
References
นิชาภา วงศ์สำแดง และอััจฉริิยะ อุปการกุล. (2564). แนวทางการเพิ่มยอดขายธุรกิจร้านค้าออนไลน์โดยประยุกต์ใช้สุนทรียสาธกกรณีศึกษา ร้าน doyoulike_shopping. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข., 14(2), 55-74.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2564). เปิดเทรนด์ “อีคอมเมิร์ซ” ปี’65. ค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2564, จาก https://www.prachachat.net/ict/news-808086
ภิญโญ รัตนาพันธุ์. (2557). วิสัยทัศน์ส่วนบุคคล: กุญแจสู่ความสำเร็จของการพัฒนาคน. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข., 7(2), 7-12.
ศศิกานต์ แข็งแอ. (2561). การเพิ่มยอดขายโดยการสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์ด้วยกระบวนการสุนทรียสาธก กรณีศึกษาเครื่องสำอางแบรนด์พลอยชมพู. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). e-Commerce ไทย ยุคหลัง COVID-19. ค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2564, จาก https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/Knowledge-Sharing/Perspective-on-Future-of-e-Commerce.aspx
สุธีพร ไกรการ และอัจฉริยะ อุปการกุล (2565). แนวทางการเพิ่มยอดขายสกินแคร์ผ่านสื่อออนไลน์ สําหรับกลุ่มลูกค้าเจนเนอร์เรชั่น เอ็กซ์ (Generation X) กรณีศึกษา ร้านค้าออนไลน์ Rainy Store ด้วยวิธีสุนทรียสาธก. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 155-163.
อัมพร ดุงจำปา. (2554). การใช้สุนทรียสาธกเพื่อเพิ่มยอดขายร้านค้าออนไลน์ กรณีศึกษาร้านโอ้ลั่นล้าหกเก้า. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เอกวิชญ์ โมฆรัตน์. (2563). การประยุกต์ใช้สุนทรียสาธกในการวางแผนกลยุทธ์เพื่อเพิ่มยอดขาย กรณีศึกษาโรงผลิตน้ำกรดและน้ำกลั่น ตราเต่าบิน. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น