การพัฒนาผลิตภัณฑ์แมลงปรุงรสเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับแมลง
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์แมลงปรุงรสเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง กลุ่มเป้าหมาย คือ ตัวแทนผู้บริโภคแมลงปรุงรส ทำการวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษา พบว่า ด้านการพัฒนาแมลงทั้ง 3 ชนิดจะใช้วิธีการอบ เนื่องจากแมลงมีความกรอบนานที่สุดและมีความชื้นน้อยที่สุด ในส่วนของผงปรุงรสจะเลือกวิธีแยกผงปรุงรส เพื่อลดการเกิดความชื้นของแมลง ด้านบรรจุภัณฑ์เลือกใช้แบบถุงซิปล็อคชนิด BOPP+PET+PP ด้านชื่อแบรนด์ ME: D สามารถอ่านได้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เป็นคำง่ายๆ สองพยางค์ คือ ผลิตภัณฑ์เราดี หรือ ผลิตภัณฑ์เรามีดี ด้านรสชาติ บ่งบอกว่าเป็นรสชาติใด ซึ่งจะมีรสชีส บาร์บีคิว และสาหร่าย ในส่วนของการสำรวจและประเมินความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูลหลักที่มีต่อผลิตภัณฑ์แมลงปรุงรสจำนวน 10 คน พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ผู้ให้ข้อมูลหลักส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าตัวแมลงมีความกรอบ มัน รสชาติเข้มข้น แต่บางรสชาติจะมีกลิ่นฉุนขึ้นจมูก ด้านราคา พบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักส่วนใหญ่ต้องการให้ผลิตภัณฑ์แมลงปรุงรสจำหน่ายในราคา 30 บาท ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย พบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า ควรวางจำหน่ายที่ร้านค้าชุมชน เพราะสามารถเข้าถึงคนได้ง่าย คู่แข่งน้อยกว่าช่องทางอื่นๆ ด้านการส่งเสริมการตลาด พบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า ควรมีการให้ทดลองชิม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิทยาลัยบัณิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
References
แก้วมณี อุทิรัมย์, ผกามาศ บุตรสาลี, ทิพย์สุดา ทาสีดำ และอุดมพงษ์ เกดศรีพงษ์ศา. (2562). การเพิ่มมูลค่าแลพัฒนารูปแบบช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าของกลุ่มโรงสีข้าวบ้านหัวดง ตำบลพระเสาร์ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 14(2), 111-120.
จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2558). เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. วารสารบัณฑิตศึกษา, 12(58), 13-24.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2558). กลยุทธ์ตลาดสำหรับวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษากระเทียมโทนดอง อบต. บางกร่าง จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร, 6(2), 104-114.
พงศ์พิพัฒน์ สนม และกมลวรรณ แจงชัด. (2564). ผลของจิ้งหรีดผงโปรตีนถั่วเหลืองสกัดและแซนแทนกัมที่มีต่อคุณภาพคุกกี้แป้งข้าว. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 14(2), 72-84.
มานพ ชุ่มอุ่น และอาชวิน ใจแก้ว. (2563). การออกแบบตราสินค้า โมเดลธุรกิจ และกลยุทธ์การตลาดเชิงสร้างสรรค์ในผลิตภัณฑ์จากมะเกี๋ยงในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(4), 13-29.
รังสิต ฟอยล์ (ม.ป.ป.) ความรู้ทั่วไป : ประเภทถุงบรรจุภัณฑ์ (Packaging bag). ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2565, จาก rangsitfoil.com/packaging-bag-type/
ศิรินภา เฮ้งบริบูรณ์, อารมณ์ ตัตตะวะศาสตร์ และศักดิ์ชัย เจริญศิริพรกุล. (2559). การวางแผนกลยุทธ์การตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายน้ำมะนาวแท้แช่แข็ง ตรา ลาลา เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(2), 158-179.
ศิริพงษ์ ฐานมั่น และนิรินธนา บุษปฤกษ์. (2562). การศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและพฤติกรรมผู้บริโภคโดยกระบวนการวิจัยแบบผสมผสาน. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(1), 111-124.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). จิ้งหรีด โอกาสธุรกิจที่รอการสนับสนุน. จากคอลัมน์ Econ Diges. ค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Protein-FB-2602.aspx
สุภกาญจน์ พรหมขันธ์, สุกัญญา สายธิ และชนิษฏา วงศ์บาสก์. (2563). ผลของสภาวะอบแห้งและอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดอบกรอบ. วารสารแก่นเกษตร, 48(1), 1-12.
สุวภัภร ดีอุดม และจรีพร ศรีทอง. (2561). การสำรวจทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร เพื่อการออกแบบและผลิตอาหารที่แปรรูปจากจิ้งหรีด. การค้นคว้าอิสระ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อกนิษฐ์ เชยคำดี และชญาภัทร์ กี่อาริโย. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารติ่มซำ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาการจัดการ, 5(1), 39-57.
อภิราม คำสด และสาธิต อดิตโต. (2559). พฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(2), 253-265.
อนุศาสตร์ โยธะวงษ์, พรพิษณุ ธรรมปัทม์, นวลอนงค์ องค์นาม, ศราวุฒ รักษาราช, และชูทวีป ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใบมะเขือแผ่นอบกรอบเสริมโปรตีนจากแมลง. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 18(2), 80-86.
Miles, M.B. & Huberman, A.M. (1994). Qualitative Data Analysis: an Expanded Sourcebook. Sage Publications: Inc.
Nastasi, B. K. and Schensul, S. L. (2005). Contributions of qualitative research to the validity of intervention Research. Journal of School Psychology, 43(3), 177-195.
Peou, N., & Jarernsiripornkul, S. (2022). Business Model Design: A Case Study of Jakraphoub Khmer Food Restaurant in Khon Kaen Province. MBA-KKU Journal, 15(1), 1-17.