เส้นทางของการพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรมอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Main Article Content

ณฐกร ลิ่มสุวรรณโรจน์
ทวีศักดิ์ กฤษเจริญ
วินัย หอมสมบัติ

Abstract

วิกฤตเศรษฐกิจของไทยในปี พ.ศ.2540 ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อระบบการศึกษาของไทย โดยเฉพาะการกระจายอำนาจการบริหารจัดการใน สถาบันอุดมศึกษา ในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้เอง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ก็ได้ก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จนถึงวันนี้ มจธ.สามารถสร้างการยอมรับจากสังคมในวงกว้าง ซึ่งเห็นได้ชัดในระดับนานาชาติ จากการจัดลำดับให้เป็น 1 ใน 400 มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก Times Higher Education (THE) งานวิจัยฉบับนี้จึงสนใจศึกษาเส้นทางการพัฒนาของ มจธ. เพื่อเป็นแนวทางต้นแบบในการพัฒนาให้แก่มหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ด้วยการศึกษาถึงรายละเอียดการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กร นวัตกรรม การส่งเสริมการทำงานวิจัยของบัณฑิตและบุคลากร และแนวทาง การพัฒนาอย่างต่อเนื่องขององค์กร โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ เชิงลึกกับผู้บริหาร มจธ. และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการพัฒนาองค์กร นอกจากนี้ ยังมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางราชการและจากข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้สามารถวิเคราะห์ถึงภาวะผู้นำและการทำงาน เป็นทีมที่มีบทบาทสำคัญยิ่ง กับการพัฒนามหาวิทยาลัยในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยใน กำกับของรัฐ โดย มจธ. มีการเปลี่ยนแปลง 3 ประการหลักๆ ได้แก่ ประการแรก วิ สั ยทั ศน์ของผู้นำที่ กล้าเปิดรั บความเปลี่ ยนแปลง โดย มจธ. ได้มี การผั นตั วเองมา เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ประการที่สอง การพัฒนาเพื่อให้เกิดเป็นองค์กร แห่งนวัตกรรม และประการสุดท้าย สร้างองค์กรให้อย่างยั่งยืน ด้วยแนวทางการ สร้างความเข้มแข็งจากการบริหารจัดการภายในมหาวิทยาลัยฯ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อม จากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ส่งผลให้ มจธ. มีการปูทางไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีของประเทศไทย อีกทั้งยังประสบความสำเร็จในการก้าวเข้าสู่การเป็น มหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก

 

Pathway towards Sustainable Innovative Organization: A Case of King Mongkut’s University of Technology Thonburi

The economic crisis in 1997 caused tremendous changes to higher education system in Thailand, in particular the decentralization of university’s administration. A number of Thai public universities have been gradually transforming to be autonomous universities. However, almost all cannot achieve the most important goal for academic excellence as reflected by global recognition. During the transitional period, King Mongkut’s University of Technology Thonburi (KMUTT) was the only public university that transformed from a university under the Civil Services to be an autonomous public university. The university could sustain as one of the leading universities and be ranked in the top 400 World university by Times Higher Education (THE). It relatively outperformed other universities and was regarded as a role model for Thai higher education development. This research aimed to figure out how autonomous public universities could manage to secure from the Thai bureaucratic system and innovate themselves to sustain continuous improvement in the world class university leagues. Key factors influencing autonomous public university to be recognized as a leading and world-class university were explored. Research data were studied and gathered from primary source by an in-depth interview from KMUTT management teams and other relevant stakeholders. Secondary data were also used such as the university’s documents and other related studies. Findings from descriptive and content analysis revealed that leadership and teamwork have played crucial roles for KMUTT during the transitional period. KMUTT aims to make a strategic change in three major areas that can boost the university’s competitiveness. The first area of change deals with the leader’s vision. The university has been through the structural transformation, and it now becomes an autonomous university. The second area concerns with the university development in terms of innovation as it aim to become an innovative organization. The third area relates to the question of how to develop the university in a sustainable way. It focuses on building the strength in three major aspects (social, economic and environment) from effective internal management. The aforementioned change results in the university becoming both a leading institution in science and technology in Thailand and one of the successful universities in the world.

Article Details

How to Cite
ลิ่มสุวรรณโรจน์ ณ., กฤษเจริญ ท., & หอมสมบัติ ว. (2016). เส้นทางของการพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรมอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. MBA-KKU Journal, 8(1), 1–18. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/article/view/64345
Section
บทความวิจัย