การพัฒนาคู่มืออย่างง่ายสำหรับเกษตรกรปลูกผัก เพื่อประเมินรายได้ด้วยตนเอง
Main Article Content
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาคู่มือประเมินรายได้ด้วยตนเอง สำหรับเกษตรกรระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า โดยคัดเลือกต้นแบบ 4 แบบ ได้แก่ สมุดบันทึกรายรับ-รายจ่ายครัวเรือนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2554) สมุดต้นทุนประกอบอาชีพของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ (พ.ศ. 2554) สมุดจดบัญชีรายได้ค่าใช้ในการการลงทุนประกอบอาชีพเกษตรกรรม ของอารีวรรณ ตันติเศรษฐ (พ.ศ. 2551) และแบบสัมภาษณ์เกษตรกรปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ ของ เพ็ญศรี เจริญวานิชและคณะ (พ.ศ. 2550) ที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืชมาให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาจำนวน 6 ท่าน ให้ข้อคิดเห็น นำมาปรับปรุงแก้ไขแล้วจึงนำมาทดลองใช้ในกลุ่มศึกษานำร่อง จำนวน 7 คน จะได้คู่มือฉบับร่าง ซึ่งการออกแบบฟอร์มเน้นที่ชนิดผักที่ปลูกและรอบการผลิตเป็นสำคัญประกอบด้วย ปฏิทินการปลูกผัก รายจ่ายทางการเกษตร รายรับทางการเกษตร รายได้สุทธิทางการเกษตร และรายได้สุทธิรายปี แล้วจึงนำมาทดลองใช้ในเกษตรกรระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่าจำนวน 60 โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน 2556 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2557 โดยเกณฑ์การยอมรับคู่มือประเมินรายได้ด้วย ตนเองสำหรับเกษตรกรระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น ต้องทำแบบทดสอบ ได้ถูกต้องไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 ของแต่ละบุคคล โดยคะแนนที่ได้ไม่น้อยกว่า 21 คะแนน และไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน จากการ ทดลองจึ งสรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างได้ผ่านเกณฑ์ที่ ตั้งไว้ และเมื่อนำไปทดลองใช้ใน เกษตรกรที่จบระดับประถมศึกษา พบว่า เกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์ได้ถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของแต่ละบุคคลมีน้อยกว่าร้อยละ 80 ของเกษตรกรที่จบระดับประถมศึกษาจำนวน 60 คน และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนของกลุ่มตัวอย่าง และเกษตรกรที่จบระดับประถมศึกษา พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ดั งนั้นคู่มือนี้จึงมีความเหมาะสมสำหรับเกษตรกรที่จบระดั บมัธยมศึกษา ตอนต้นหรือเทียบเท่ามากกว่าเกษตรกรที่จบระดับประถมศึกษา
The Development of Simplified Farmer’s Handbook for Income Evaluation of Vegetable Farm
The objective of this article were to develop Income Evaluation Handbook for Farmer with secondary school education level. There were four samples of handbooks; Household account book of Ministry of Interior and The Thailand Research Fund (TRF) (2011), Costs occupations Book of Department of Cooperative Auditing (2011), Accounting income for investment in agriculture Book of Areewan Tantiseth (2008) and Interview farmers grow Pesticide safe vegetable of Pensri Jaroenwanit et.al.(2007). The draft hand book was improved from 6 researchers and experts’ commented, designed to focus on the kinds of vegetables farm and the production cycle and used on pilot study group of 7 farmers. The Handbook content included Gardening Calendar, Expenditure Agriculture, income Agriculture, Net income Agriculture and Annual net income Agriculture.
After that the hand book was used with the sample group of 60 farmers with secondary school education level, was selected by purposive sampling. The study period was between September 2013 to February 2014. The acceptance criteria for the Handbook was the test which required at least 70 percent of the individual or scores at least 21 points and not less than 80 percent of sampling. From the study, it was concluded that the sample group passed the set criteria. The study used Farmer’s Handbook with 60 primary school education level farmers, the statistical score tests showed a significant difference (P<0.05) between secondary school education level farmer’s and primary school education level farmer’s. Therefore, Farmer’s Handbook could be more suitable for secondary school education level farmers than Primary school education level farmers.
Article Details
- The ideas and opinions expressed in MBA-KKU Journal are those of the authors and not necessarily those of the editor.
- Copyright on any open access article in a journal published by MBA-KKU Journal