การออกแบบธุรกิจ กรณีศึกษาโรงเรียนกวดวิชาอินไซท์ อะคาเดมี ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทำการศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการโรงเรียนกวดวิชา ทัศนคติต่อการกวดวิชาและการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่ระดับอุดมศึกษาด้วยวิธีรับตรง และ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงเรียนกวดวิชาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตเทศบาลนครขอนแก่น โดยผู้ศึกษาได้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมการใช้บริการโรงเรียนกวดวิชาส่วนใหญ่นิยมการกวดวิชาแบบสอนสด โดยใช้เวลาเรียนครั้งละ 1-2 ชั่วโมง ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในการกวดวิชาอยู่ที่ 2,001-2,500 บาท ในด้านทัศนคติต่อการกวดวิชาและการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาด้วยวิธีรับตรง พบว่า กวดวิชาเพื่อเตรียมตัวสอบคัดเลือกเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา โดยเลือกโรงเรียนกวดวิชาจากเพื่อนหรือบุคคลใกล้ชิดแนะนำปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการกวดวิชาประกอบไปด้วยหลายปัจจัย เช่น ความสามารถ และความเอาใจใส่ของผู้สอน การให้บริการของพนักงาน ความสะอาดของห้องและอาคารเรียน โดยวิเคราะห์ร่วมกับสภาพแวดล้อมของธุรกิจและกลยุทธ์ทางการตลาด พบว่า ควรออกแบบโรงเรียนกวดวิชาให้มีหลักสูตรสอดคล้องกับการสอบคัดเลือก โดยมีผู้สอนที่ มีความรู้สามารถดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึงและ มีห้องเรียนและอาคารเรียนที่ได้มาตรฐาน รวมถึงมีช่วงเวลาในการเรียนการสอน ให้เลือกหลายช่วงเวลา โดยดำเนินธุรกิจรูปแบบเจ้าของคนเดียว และคาดว่าจะ สามารถคืนทุนได้ภายใน 1 ปี 18 วัน โดยมีอัตราผลตอบแทนร้อยละ 39.39
Business Design: A Case Study of Insight Academy in Khon Kaen Municipality
The independent study aimed to study the behavior of using tutorial school services including attitude towards tutorial school and undergraduate direct admission, together with other factors affecting determinations of high school students in Khon Kaen Municipality by a collection of 400 samples. The collected data revealed that the respondent behavior of using tutorial school services seems to prefer live-teaching classes which the class’s hours were between 1-2 hours and the average fees were from Baht 2,001 to 2,500. The attitude of the sample respondents towards tutorial schools and undergraduate direct admission revealed that they normally chose the institutes where they were recommended by friends and acquaintances who had attended tutorial schools as means to prepare of university admission. The capacity and attention of tutors together with good services of staff and hygiene of classrooms and buildings became key factors which impacted on the determination. The study accumulated the data from surveyed samples in order to analyze with business environment and marketing strategy simultaneously. This analysis was eventually applied to design tutorial school business. In conclusion, these data supported the view that the business pattern of a tutorial school should provide productive academic courses which conform to university admission exams, and employ experienced tutors who can take care of students thoroughly. Besides, standard classrooms and buildings, along with various teaching timetables need to be adequately supplied. From our study, the tutorial school business would be organized by individual proprietorship, and expected to be payback period was 1 year 18 days with 39.39 percent of internal rate of return.
Article Details
- The ideas and opinions expressed in MBA-KKU Journal are those of the authors and not necessarily those of the editor.
- Copyright on any open access article in a journal published by MBA-KKU Journal