แนวทางการปรับปรุงคุณภาพการบริการของ วิชชิ่ง ทรี รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

สันติกร มาลัยพันธ์

Abstract

การศึกษาอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคาดหวังและการรับรู้ในคุณภาพการบริการของ วิชชิ่ง ทรี รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงคุณภาพการบริการโดยการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 254 ตัวอย่าง ใช้แบบสอบถามที่เรียกว่า SERVQUAL เพื่อวัดความคาดหวังและการรับรู้ในคุณภาพการบริการโดยใช้สถิติอ้างอิง t-test ผลการศึกษาความคาดหวังในคุณภาพการบริการ พบว่า ระดับความคิดเห็นของลูกค้าส่วนมากที่ตอบแบบสอบถามอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งเกี่ยวกับความคาดหวังในคุณภาพการให้บริการของโรงแรมที่ดี ในขณะที่ผลการศึกษาการรับรู้ในคุณภาพการให้บริการของโรงแรม พบว่า ระดับความคิดเห็นของลูกค้าส่วนมากที่ตอบแบบสอบถามอยู่ในระดับเห็นด้วยและไม่แน่ใจเกี่ยวกับการรับรู้ในคุณภาพการบริการของ วิชชิ่ง ทรี รีสอร์ท และผลการศึกษาความแตกต่างระหว่างความคาดหวังกับการรับรู้ในคุณภาพการบริการ พบว่า เกิดช่องว่างในการบริการ คือ มีคุณภาพการบริการที่ความคาดหวังมีระดับสูงกว่าการรับรู้ ซึ่งควรจะนำมาทำการปรับปรุงและแก้ไข ผู้ศึกษาจึงได้เสนอแนะแนวทางการปรับปรุง 5 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาคุณภาพการให้บริการที่เป็นรูปธรรมต่อลูกค้าของธุรกิจ, โครงการสร้างความเชื่อถือไว้วางใจได้ของธุรกิจ, โครงการสร้างกระบวนการตอบสนองต่อลูกค้าของธุรกิจได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว,โครงการให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้าของธุรกิจ และโครงการสร้างการรู้จักและเข้าใจลูกค้าของธุรกิจ

 

The Approach to Improve Service Quality of Wishing Tree Resort, Muang District, Khon Kaen Province.

This study aimed to study customer expectations and perceptions in service quality of The Wishing Tree Resort, Muang district, Khon Kaen province and to suggests service quality improvement. Data were collected from 254 guests by using questionnaire adopted from “SERVQUAL”, the statistical t-test for Perceived quality. The study found that expectation of service quality were assessed at the level of mostly agree with the expectation of good hotel service quality. The perceptions of service quality were assessed at the level of agree and not sure. The result of the difference between expectation and perception of service quality found a space in service quality as the guests’ perceived value of the services less than their expectations based on measured variables. Therefore, five projects were planned for the suggestion to improve the service quality as follows; Quality Improvement Program to provide tangible service to customer, Building Business Reliability, Customer Responsiveness, Customer Assurance and Know and Understand Customer.

Article Details

Section
บทความวิจัย