ต้นทุนแอบแฝงของค่าจ้างระหว่างแรงงานไทยและแรงงานย้ายถิ่น กรณีศึกษา : จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย

Main Article Content

นงลักษณ์ บุตรแวง
จงรักษ์ หงษ์งาม

Abstract

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพโดยทั่วไปของกิจการที่มีการจ้างแรงงานไทยและแรงงานย้ายถิ่น 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของต้นทุนแอบแฝงของ ค่าจ้างระหว่างแรงงานไทยและแรงงานย้ายถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นายจ้างหรือกิจการที่มีการจ้างแรงงานไทยและแรงงานย้ายถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 170 กิจการ โดยการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็น ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม 2 ชั้น ชั้นที่ 1 จะใช้งานเป็นตัวแบ่ง คือ แบ่งตามงานด้านอุตสาหกรรมและงานด้านบริการ ชั้นที่ 2 จะใช้สัญชาติเป็นตัวแบ่ง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ มัธยฐาน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อทดสอบหาลักษณะทั่วไปของกิจการ และความแตกต่างของค่าจ้างด้านลักษณะทั่วไปของแรงงานร่วมกับการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ได้แก่ การทดสอบหาค่าความแปรปรวนของข้อมูล วิเคราะห์เปรียบเทียบค่ามัธยฐาน เพื่อทดสอบหาค่าความแตกต่างมัธยฐาน และค่ามัธยฐานของทั้งแรงงานทั้งสองสัญชาติ

ผลการวิจัย พบว่า กิจการส่วนมากเป็นกิจการเจ้าของคนเดียว เพิ่งดำเนิน กิจการได้เพียง 1 - 5 ปี กิจการส่วนมากมีลูกจ้างตั้งแต่ 1 - 50 คน รองลงมา คือ 51 - 100 คน กิจการส่วนใหญ่จะมีแรงงานในกิจการ 2 สัญชาติ คือ แรงงานไทย และแรงงานพม่า แรงงานที่เข้ามาทำงานในกิจการส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่ไม่เคย มีประสบการณ์มาก่อน เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของต้นทุนแอบแฝงของ ค่าจ้างระหว่างแรงงานไทยและแรงงานย้ายถิ่น จะพบว่ามีต้นทุนแอบแฝงที่ แตกต่างกัน ขณะที่ความต้องการจ้างงานของนายจ้างที่มีต่อแรงงานไทยและ แรงงานย้ายถิ่นมากพอกัน ความเสี่ยงแรงงานย้ายถิ่นกลับมีความเสี่ยงมากกว่า แรงงานไทยและพบว่าการปฏิบัติงานของแรงงานทั้งสองสัญชาติไม่มีความ แตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่จะต่างที่ความอดทน และการเลือกงาน

 

Implicit Cost Of Immigrant Workers; A Case Of Khon Kaen Province, Thailand

This study aimed to 1) study general conditions of businesses with migrant workers and Thai workers and 2) compare differences of the implicit cost between Thai workers and migrant workers. The samples in this study were 170 employers in Mung District, Khon Kaen Province. The research employed probability sampling by using cluster sampling techniques with two stratum: 1) work and 2) nationality. Questionnaire was used as a research tool to investigate general conditions and differences of the implicit cost. Statistical data were analyzed by using percentages and median and standard deviation values. Quantitative analysis was also applied to the research, for example, variance analysis. The above analyses were used to examine the median values and differences between Thai and migrant workers.

The results showed that most businesses were sole proprietorship with 1-50 employees or 51-100 employees and had been running between 1 to 5 years. Most of these businesses employed workers of two nationalities: Thai and Burmese. Most workers had no experience before starting the job. It was also found that there were differences in the implicit cost between Thai and migrant workers, although the demand of both Thai and migrant workers were equally high. There was higher risk with migrant workers than Thai workers. There was no difference in terms of work performance between them. However, their endurance, attitude and habits on the job were slightly different.

Article Details

How to Cite
บุตรแวง น., & หงษ์งาม จ. (2016). ต้นทุนแอบแฝงของค่าจ้างระหว่างแรงงานไทยและแรงงานย้ายถิ่น กรณีศึกษา : จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย. MBA-KKU Journal, 8(2), 55–70. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/article/view/64414
Section
บทความวิจัย