การวิเคราะห์ความสมนัยของกิจกรรมยามว่างกับผลการเรียนเฉลี่ยสะสม ชั้นปี และสาขาวิชาของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

Main Article Content

ประสพชัย พสุนนท์
เกตุวดี สมบูรณ์ทวี

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสมนัยของกิจกรรมยามว่างกับผลการเรียนเฉลี่ยสะสมชั้นปีการศึกษาและสาขาวิชาของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม โดยกิจกรรมยามว่างประกอบด้วย กิจกรรมนันทนาการ วิชาการ สโมสรนักศึกษากีฬา และความรับผิดชอบต่อสัคม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS โดยการวิเคราะห์การสมนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมยามว่างของนักศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับผลการเรียนเฉลี่ยสะสม ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 2) กิจกรรมยามว่างมีความสัมพันธ์กับชั้นปีการศึกษาของนักศึกษา ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และสามารถจัดกลุ่ม 3 กลุ่มประกอบด้วยกลุ่มของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 2 มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมวิชาการกลุ่มของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมกีฬา และกลุ่มของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมนันทนาการสโมสรนักศึกษา และความรับผิดชอบต่อสังคม และ 3) กิจกรรมยามว่างมีความสัมพันธ์กับสาขาวิชาของนักศึกษาที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และสามารถจัดกลุ่ม 3 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มนักศึกษาสาขาวิชาชุมชนมีความสัมพันธ์กับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมกลุ่มนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป การจัดการการท่องเที่ยว การจัดการ การโรงแรม และการจัดการธุรกิจและภาษาอังกฤษ มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมนันทนาการวิชาการ และสโมสรนักศึกษา และกลุ่มนักศึกษาสาขาวิชาการตลาด และรัฐประศาสนศาสตร์มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมกีฬา

 

Correspondence Analysis of Leisure Activities, Grade Point Average, Year of study and the Major of Students in Management Science Faculty at Silpakorn University Petchaburi IT Campus

The objective of this study was to analyze the correspondence of leisure activities on grade point average, year of study and major of study. The data was collected from 400 students in Management Science Faculty at Silpakorn University Petchaburi IT Campus. The questionnaire was used as a research tool. The leisure activities consist of recreation, academic, associate student, sport and social responsibility activities. The data was analyzed by using SPSS program including descriptive statistic and correspondence analysis. The result found that 1) leisure activities were not related to the grade point average of the students at the level of significance 0.05. 2) Leisure activities were associated to the year of the study at the level of significance 0.05. It could be classified into three group; in 1st and 2nd year students preferred the academic activities, 3rd year students preferred the sport activity, 4th year students preferred the recreation, association student and social responsibility activities, and 3) Leisure activities were related to the program of study at the level of significance 0.05. Then, the respondents could be classified into three groups; Community Management Program students preferred the social responsibility activity, General Business Management Program, Tourism Management Program, Hotel Management Program and Business Management and English Program students preferred recreation activity, academic activity, and student association , and Marketing Program and Public Administration Program students preferred sport activity.

Article Details

How to Cite
พสุนนท์ ป., & สมบูรณ์ทวี เ. (2016). การวิเคราะห์ความสมนัยของกิจกรรมยามว่างกับผลการเรียนเฉลี่ยสะสม ชั้นปี และสาขาวิชาของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี. MBA-KKU Journal, 8(2), 117–132. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/article/view/64424
Section
บทความวิจัย