การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตชุดชั้นในสตรี โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการผลิตแบบลีน

Main Article Content

นิวัฒน์ เดชอำไพ
กาญจนา เศรษฐนันท์

Abstract

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต กำจัดความ สูญเปล่าและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของ บริษัท วาโก้กบินทร์บุรี จำกัด ซึ่งประสบปัญหาผลผลิตไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จำเป็นต้องมีการปรับกลยุทธ์ การผลิต จึงได้ทดลองนำระบบการผลิตแบบลีน มาประยุกต์ใช้กับหน่วยเย็บ โดยแบ่งทีมเย็บเป็นทีม BA1 และ BA2 และนำเครื่องมือ 7 Waste เข้ามาวิเคราะห์ และจำแนกความสูญเปล่า โดยใช้เครื่องมือของลีนเพื่อการปรับปรุง (1) ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนที่ที่ไม่จำเป็น ปรับปรุงโดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบ การผลิต จากการนั่งเย็บเป็นการยืนเย็บและการปรับปรุงผังการผลิต (2) ความสูญเปล่าจากการผลิตมากเกินไป ปรับปรุงโดยการลดขนาดการผลิต (3) ความสูญเปล่าจากการเก็บวัสดุคงคลัง ปรับปรุงการนำเสนอระบบดึง และใช้คัมบังเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวตามลำดับ ผลจากการปรับปรุง พบว่า สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของทีมเย็บ BA1 และ BA2 ขึ้นได้ 15.63 เปอร์เซ็นต์ และ 18.15 เปอร์เซ็นต์ มีจำนวนผลผลิตเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น 17.13 เปอร์เซ็นต์ และ 20.00 เปอร์เซ็นต์ มีเวลานำการผลิตลดลง 16.00 เปอร์เซ็นต์ และ 19.23 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

 

Productivity Improvement in a Lingerie process by Lean Manufacturing System

The objectives of this research were to increase productivity and eliminate waste in the case study of Wacoal Kabinburi Co., Ltd.. Currently, the company had problem on low productivity and needed to adjust operation strategy. This research therefore focused on the implementation of Lean Manufacturing System. The performance of two sewing case study teams, BA1 and BA2, were assessed using 7 Waste tools to analyze and classify their waste. Subsequently lean tools were introduced to improve the situation as follows. (1) Waste of unnecessary motion was eliminated by modifying the production model from sitting sewing to standing sewing, and re-layout. (2) Waste of over production was eliminated by batch size reduction. (3) Waste of unnecessary inventory was eliminated by a pull system based on Kanban to solve such problems. Following this, the results obtained from this study indicated better productivity than the firm’s current practice by 15.63 and 18.15 percent, the average production per day increased by 17.13 and 20.00 percent, and the lead time decreased by 16.00, and 19.23 percent, respectively for each sewing team.

Article Details

How to Cite
เดชอำไพ น., & เศรษฐนันท์ ก. (2016). การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตชุดชั้นในสตรี โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการผลิตแบบลีน. MBA-KKU Journal, 7(2), 13–27. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/article/view/64450
Section
บทความวิจัย