การประเมินผลประสิทธิภาพบ้านดินในท้องถิ่นชนบท

Main Article Content

ศุภชัย มนนามอญ
พรชัย เทพปัญญา

Abstract

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของบ้านดิน ที่ใช้เพื่อการพักอาศัยของชาวชนบท โดยใช้การประเมินผล ตามหลักการ CIPP Model แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการสร้างบ้านดินและการยอมรับบ้านดินของ ชาวชนบท และความแตกต่างด้านงบประมาณก่อสร้างระหว่างบ้านดิน กับบ้านคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยทำการสัมภาษณ์และรวบรวมข้อมูลจาก ผู้เชี่ยวชาญการก่อสร้างบ้านดิน 9 ท่าน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การประเมิน ประสิทธิภาพบ้านดิน พบว่า บ้านดินมีความแข็งแรงในส่วนของผนังดีพอสมควร เนื่องจากผนังมีความยืดหยุ่นสูง ทนต่อแรงแผ่นดินไหว แรงกระแทก แต่ไม่ทนต่อ อุทกภัย แต่ก็มีความสวยงามที่ดูเป็นธรรมชาติ เหมาะสำหรับชาวชนบทโดยแท้จริง แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจสร้างบ้านดิน พบว่า แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง มีผลอย่างมากต่อการตัดสินใจสร้างบ้านดินในท้องถิ่นชนบท และ ชาวชนบท ยอมรับในความสวยงามและความแข็งแรงของบ้านดินเป็นอย่างสูง การศึกษา งบประมาณในการก่อสร้างบ้านดิน พบว่า งบประมาณการก่อสร้างบ้านดิน มีราคาเริ่มต้นที่ต่ำสุด 500 บาทต่อตารางเมตร ในขณะที่บ้านคอนกรีตเสริมเหล็ก ต้องใช้งบประมาณก่อสร้างต่ำสุดที่ราคา 8,000 บาทต่อตารางเมตร ดังนั้นจึงควรให้การสนับสนุนการปลูกสร้างบ้านดินในท้องถิ่นชนบทให้กว้างขวางมากขึ้น โดยให้ความรู้ในการก่อสร้างบ้านดินแก่ชาวชนบท ซึ่งการปลูกสร้างบ้านดิน ยังสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และยังเป็นแนวคิดที่มีประโยชน์ต่อชาวชนบท ช่วยลดภาระการก่อสร้างบ้านพักอาศัยได้เป็นอย่างดี

 

Evaluation of the Earthen Building in Rural Areas

The purposes of this research were to study the efficiency of the Earthen building for the countryside people by using CIPP Model, the concept that affected the Earthen house building and the countryside people acceptation and the different budget between Earthen building and the Concrete Houses. The in-depth interview had been conducted to collect data from 9 earthen building experts. The assessment found that the earthen building wall were seemingly stronger with high flexibility, could stand for earth quake and hitting but not for flooding. It was naturally beautiful and really suitable for countryside. The concept affecting the decision for building the earthen building was sufficiency economy theory and the countryside people accepted in its beautiful and strength. The study of budget for the earthen building found that the lowest building budget was at only 500baht per square meter while the lowest budget for Concrete Houses was 8,000 baht per square meter. Therefore, earthen building should be promoted in countryside by providing more knowledge and information to the people. Earthen building is consistent to the sufficiency economy theory and very useful concept for the countryside people in reducing the budget in house building.

Article Details

Section
บทความวิจัย