ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสาธารณสุขของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

นันทวรรณ ภู่เนาวรัตน์
ทิพาพร กาญจนราช
รักษวร ใจสะอาด

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสัดส่วนความพึงพอใจของ บุคลากรสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ต่อการ ได้รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข (คบส.) 2) สำรวจความคิดเห็น เกี่ยวกับงาน คบส. ใน 3 ด้าน คือ ลักษณะของงาน คบส. ประโยชน์ของงาน คบส. ต่อประชาชน และประโยชน์ของงานคบส.ต่อตัวบุคลากรเอง และ 3) ทดสอบ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจกับความคิดเห็นเกี่ยวกับงาน คบส. ทั้ง 3 ด้าน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ บุคลากรสาธารณสุขที่เป็นผู้รับผิดชอบหลักงานคบส.ของ รพ.สต. ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 407 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 65.3 (n= 266) มีความพึงพอใจต่อการได้รับผิดชอบงาน คบส. มีความคิดเห็นเป็นกลางต่อลักษณะของงานคบส. (Mean :3.4, SD: 0.5, Max: 5.0, Min: 2.0) มีความเห็นเชิงบวกต่อประโยชน์ของงาน คบส.ต่อประชาชน (Mean: 3.9,SD: 0.6, Max: 5.0, Min: 1.7) มีความเห็นเป็นกลางต่อประโยชน์ของงาน คบส. ต่อตนเอง (Mean: 2.8, SD: 0.5, Max: 4.4, Min: 1.2) ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจ กับความคิดเห็นต่อลักษณะของงาน คบส. และกับความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ ของงาน คบส. ต่อประชาชน อยู่ในระดับน้อย (r = 0.45, 0.34 ตามลำดับ) ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจกับความคิดเห็นต่อประโยชน์ของงาน คบส. ต่อตนเอง อยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.61) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงความจำเป็น ในการเสริมสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานให้กับบุคลากร อันจะนำไป สู่การเพิ่มประสิทธิภาพของผลงาน การจัดการเพื่อตอบสนองความต้องการ ของบุคลากรผู้รับผิดชอบงานควรเป็นรูปธรรม เช่น ค่าตอบแทน การให้รางวัล การประกาศเกียรติคุณ

 

Satisfaction with Responsibility in Health Consumer Protection of Health Personnel at Sub-district Health Promotion Hospitals in the Northeast of Thailand

This cross sectional survey aimed to 1) identify the proportion of health personnel at sub-district health promotion hospitals (SD-HPHs) who satisfied with their responsibility in Health Consumer Protection (HCP), 2) identify their opinions toward the following three components of HCP, i.e. characteristics of HCP job, its benefit to the public and its benefit to health personnel themselves, and 3) identify correlation between satisfaction and the opinions toward the three components. The study samples were 407 health personnel who were in charge of HCP at SD-HPHs in the Northeast of Thailand and were recruited by simple random sampling technique. Data were collected by using self-administered postal questionnaires. It was found that 65.3% (n= 266) of the studied samples were satisfied with their responsibility in HCP. Their opinions toward characteristics of HCP job were neutral (Mean: 3.4, SD: 0.5, Max: 5.0, Min: 2.0), toward the benefit of HCP to the public were positive (Mean: 3.9, SD: 0.6, Max: 5.0, Min: 1.7), and toward benefit of HCP to health personnel themselves were neutral (Mean: 2.8, SD: 0.5, Max:4.4, Min: 1.2). The correlation between job satisfaction and opinions toward characteristics of HCP job, and benefit of HCP to the public were low (r = 0.45, 0.34 respectively). The correlation between job satisfaction and opinion toward benefit of HCP to health personnel themselves was moderate (r = 0.61). The findings of this study suggested the need to increase job satisfaction of health personal as it would increase effectiveness of work outcome. The potential intervention to address the needs of health personnel should be in visible forms such as fringe benefit, award or commemorative certificate.

Article Details

Section
บทความวิจัย