พฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อทองรูปพรรณของลูกค้าในเขตอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ณัฐพงศ์ แซ่อึ้ง
นิติพล ภูตะโชติ

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อทองรูปพรรณของลูกค้าในเขตอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าร้านค้าทองรูปพรรณในเขตอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 400 ชุด และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องมือทางสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ Chi-Square ทดสอบความสัมพันธ์ รวมถึงเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรต้น 2 ค่าที่เป็นอิสระต่อกันด้วยค่า และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรต้นมากกว่า 2 ค่า ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 30-39 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ประกอบอาชีพข้าราชการ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ส่วนมากใช้บริการร้านค้าทองรูปพรรณด้านการซื้อทองรูปพรรณใหม่ มีวัตถุประสงค์ในการซื้อทองรูปพรรณเพื่อเป็นเครื่องประดับ โดยซื้อในลักษณะของสร้อยคอเป็นส่วนใหญ่ และซื้อทองรูปพรรณ 2-3 ครั้งต่อปี ซึ่งทองรูปพรรณที่ซื้อในแต่ละครั้ง ประมาณ 5,001-15,000 บาท สำหรับปัจจัยส่วน ประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อทองรูปพรรณมากที่สุด เมื่อแบ่งเป็นด้านต่างๆ พบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ คือ สินค้าผ่านมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ปัจจัยด้านราคา คือ ราคาทองรูปพรรณ ปรับตัวลดลง ปัจจัยด้านการจัดจำหน่าย คือ พนักงานและเจ้าของร้านบริการ ประทับใจ ส่วนปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด คือ มีการแจกของแถมที่ดึงดูดความสนใจ ส่วนการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อทองรูปพรรณ ได้แก่ วัตถุประสงค์ในการซื้อทองรูปพรรณ และลักษณะของทองรูปพรรณที่ซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ลูกค้าที่มีเพศ อายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อทองรูปพรรณที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

Behavior and Marketing Mix Factors Affecting Gold Jewelry Purchasing of Customers in Chumphae District, Khon Kaen Province

The purpose of this study were to study behavior and marketing mix factors affecting gold jewelry purchasing of customers in Chum Phae district, Khon Kaen province. The study used a survey research method to collect data from 400 customers. The data was analyzed by a number of statistic instruments; those are Chi-Square, Independent-Samples t Test, and One-way ANOVA. The result indicated that a great number of the sample was female in 30-39 age groups, education level below bachelor degree, worked as government employee with average monthly income of 20,001-30,000 Baht per month. Most of the respondents preferred to buy a new gold jewelry as accessories and the most popular gold jewelry was necklace. The frequency of buying was 2-3 times per year and they spent around 5,001-15,000 Baht on each buying. The Marketing Mix Factor that had the most effective on purchasing decision for gold jewelry were as the following; For Product, the products had a guarantee from the Office of the Consumer Protection Board; For Price, the gold’s price was going down; For distribution, the staff and shopkeeper had good service mind, and For Promotion, there was attractive free gift. Nevertheless, gender related with the purpose of gold jewelry purchasing and the category of gold jewelry. Lastly, the results also revealed that differences of gender, age, level of education, occupation, and monthly income of customers had affect on levels of effective on purchasing decision for gold jewelry with the level of statistical significance at 0.05.

Article Details

How to Cite
แซ่อึ้ง ณ., & ภูตะโชติ น. (2016). พฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อทองรูปพรรณของลูกค้าในเขตอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. MBA-KKU Journal, 7(1), 77–92. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/article/view/64475
Section
บทความวิจัย