SOAR Analysis: เครื่องมือที่นำมาใช้แทน SWOT Analysis

Main Article Content

ภิญโญ รัตนาพันธุ์

Abstract

SOAR Analysis ใช้สำหรับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เพื่อเป็นฐานสำหรับการพัฒนาและการดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ SOAR เป็นคำย่อของ Strengths (จุดแข็ง) Opportunities (โอกาส) Aspiration (แรงบันดาลใจ) และ Result (ผลลัพธ์) ทั้งนี้ SOAR Analysis พัฒนาต่อยอดมาจากสุนทรียสาธก หรือ Appreciative Inquiry (AI) โดย AI คือกระบวนการค้นหาสิ่งที่ดีอยู่แล้วในระบบ ทั้งนี้สามารถนำSOAR Analysis มาใช้วิเคราะห์แทน SWOT Analysis โดย SOAR Analysis ไม่เพียงแต่สามารถนำมาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์เท่านั้น แต่ยังนำมาใช้ในการวางแผนการตลาด การพัฒนาองค์กร เป็นต้น บทความนี้เป็นการสำรวจความเป็นมาของ SOAR Analysis รวมทั้งแนวทางในการวิเคราะห์ พร้อมทั้งได้ยกตัวอย่างจริงจากการจัดการในด้านต่างๆ กว่า 11 มิติ ได้แก่ มุมมองด้านภาวะผู้นำนวัตกรรม การตลาด การบริหารความเสี่ยง เป็นต้น

 

SOAR Analysis is used for business environment analysis. This analysis is a basis for strategic formulation and execution. SOAR stands for Strengths, Opportunities, Aspiration and Results. SOAR Analysis was developed from Appreciative Inquiry (AI). Appreciative Inquiry is an process of search what working well in the system. SOAR can be a replacement for a traditional SWOT Analysis. It can not only be used in Strategic planning but also in Marketing, Organization Development and etc. This article explores the origin of SOAR Analysis and its guideline with examples from real cases from eleven managerial perspectives such as leadership, innovation, marketing, risk management and etc.

Article Details

How to Cite
รัตนาพันธุ์ ภ. (2016). SOAR Analysis: เครื่องมือที่นำมาใช้แทน SWOT Analysis. MBA-KKU Journal, 6(2), 7–20. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/article/view/64500
Section
บทความวิชาการ