แผนการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายมะละกอดิบของร้านเจ้ตี๋มะละกอ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ณัฐฏณิชา การัณย์สกุล
อัมพน ห่อนาค

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการซื้อมะละกอดิบของลูกค้าร้านเจ้ตี๋มะละกอ และผู้ประกอบการร้านส้มตำในเขตเทศบาลเมืองนครอุดรธานี ตลอดจนสภาพแวดล้อมทั่วไป สภาพการแข่งขัน และสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกทางธุรกิจ เพื่อวางแผนการตลาดในการเพิ่มยอดขายในปี 2556 ให้เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 โดยศึกษาจากการสอบถามลูกค้าประจำ จำนวน 50 ราย และผู้ประกอบการร้านส้มตำจำนวน 115 ราย ผลการศึกษาพบว่า ลูกค้าประจำร้อยละ 40 เป็นลูกค้าประจำมานานกว่า 10 ปี ขึ้นไป และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าในระดับความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ คุณภาพ ความสดใหม่ รสชาติ การบริการที่ดี ความเป็นกันเอง และมีสินค้าเพียงพอต่อความต้องการ ส่วนพฤติกรรมการซื้อของผู้ประกอบการร้านส้มตำนั้น พบว่าร้อยละ 85.2 มีร้านประจำที่ซื้อมะละกอดิบอยู่แล้ว และรู้จักร้านประจำจากการบอกต่อร้อยละ 83.5 ด้านปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อในระดับความสำคัญมากที่สุดนั้น ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับคุณภาพ และการบริการที่ดี

สำหรับผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไป สภาพการแข่งขันและ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการร้านเจ้ตี๋ มะละกอ พบว่า สาเหตุหลักของปัญหาเกิดจากต้นทุนค่านายหน้าในการจัด รวบรวมมะละกอดิบสูงถึงร้อยละ 47.24 ของต้นทุนผันแปรทั้งหมด อีกทั้งการ บริหารงานของทางร้านเจ้ตี๋มะละกอที่ไม่มีการแบ่งงานบรรจุภัณฑ์ขาดการ ออกแบบที่จูงใจลูกค้า และไม่มีการส่งเสริมการตลาด ดังนั้น จึงได้กำหนดแผนการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายรวม 7 แผนงาน ได้แก่ แผนที่ 1 การปรับปรุง โครงสร้างการบริหาร แผนที่ 2 การสร้างการรับรู้ตัวสินค้า แผนที่ 3 การสร้างการจดจำตราสินค้า แผนที่ 4 การรักษาลูกค้าเก่าและขยายฐานลูกค้าใหม่ แผนที่ 5 การลดต้นทุนค่านายหน้าหรือผู้รวบรวม แผนที่ 6 การเข้าร่วมกิจกรรมสนับสนุนการแข่งขันส้มตำในงานเทศกาลสงกรานต์ และแผนที่ 7 การเข้าร่วมกิจกรรมงาน บุญประเพณีต่างๆ ซึ่งจากการปฏิบัติการตามแผนการตลาดที่ได้กำหนดไว้ คาดว่าจะสามารถเพิ่มยอดขายได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ

 

Marketing Plan to Increase Raw Papaya Sales Volume of Jaetee Malakor Store in Muang Distric, Udon Thani Province

The objectives of this study were to study the behavior of customers and papaya shop entrepreneurs on decision making in raw papaya buying from Jaetee Malakor Store in Muang District Udon thani Province in order to set the marketing plan to increase raw papaya sales volume in the year 2013 to be at least 20 percent higher than the year 2012. The questionnaires were distributed to 50 customers and 115 papaya shop entrepreneurs. The results of this study found that 40 percent was regular customers for over 10 years. The most important factors that affected the purchasing decision were quality, fresh taste, good service, friendly staff and having enough products to meet demands. For papaya shop entrepreneurs behavior, the study showed that 85.2 percent had their regular papaya shop and 83.5 percent of the customer knew the shop from others people. The most important factors on influenced purchasing selection, the entrepreneurs focused on quality and good service.

Furthermore, the study consisted of the present situation analysis or external environment and completion status by means of SWOT analysis. The causes of problem were analyzed by Cause and Effect Diagram and conducted One-on-One Interview with Jaetee Malakor Store owner. The study revealed that the main problems included brokerage costs up to 47.54 percent of total variable costs and the Store did not have marketing plan. The results of the total data analysis had set seven marketing plans to increase sales volume as follows; Plan1 Restructuring Management, Plan 2 Building Brand Awareness, Plan 3 Creating Brand Memorable, Plan 4 Customer Retention and Customer Acquisition, Plan 5 Reduce brokerage costs, Plan 6 Participate and Sponsor the Papaya salad in Songkran Festival, and Plan 7 Participate traditional and religious ceremonies. Implementation of the marketing plans would be defined and expected to be achieved the desired target of increasing 20 % sale volume.

Article Details

How to Cite
การัณย์สกุล ณ., & ห่อนาค อ. (2016). แผนการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายมะละกอดิบของร้านเจ้ตี๋มะละกอ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. MBA-KKU Journal, 6(2), 53–70. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/article/view/64503
Section
บทความวิจัย