การเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามเงินเรียกคืนกรณีสงเคราะห์บุตรโดยกระบวนการสุนทรียสาธก กรณีศึกษาสำนักงานประกันสังคมจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

วณิชญา เกษแก้ว
อัจฉริยะ อุปการกุล

Abstract

การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามเงินเรียกคืนกรณีสงเคราะห์บุตรโดยกระบวนการสุนทรียสาธก กรณีศึกษาสำนักงานประกันสังคมจังหวัดขอนแก่น เกิดขึ้นจากปัญหาการจ่ายเงินเกินสิทธิจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพกองทุนประกันสังคม ถ้านำเงินในส่วนที่จ่ายเกินนี้กลับคืนเข้ากองทุนได้ ก็จะสามารถนำไปพัฒนาสิทธิประโยชน์กรณีอื่นหรือนำไปบริหารการลงทุนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาประสบการณ์ด้านบวกของผู้ประกันตนที่รับเงินสงเคราะห์บุตรเกินสิทธิแล้วนำเงินมาคืน เพื่อนำผลของประสบการณ์ด้านบวกมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามเงินเรียกคืนกรณีดังกล่าวโดยใช้กระบวนการสุนทรียสาธกเป็นเครื่องมือในการศึกษาเพื่อค้นหาจุดร่วมจุดโดดเด่นโดยการสัมภาษณ์ผู้ประกันตนที่นำเงินมาคืนจำนวน 50 ราย ด้วยคำถามแบบเปิด 5 ข้อมาวิเคราะห์ได้จุดร่วม 3 ข้อ คือ 1) ทำหนังสือแจ้งเตือนบ่อยๆ และต่อเนื่อง 2) โทรศัพท์ติดตามหลังจากส่งหนังสือ 3) ประชาสัมพันธ์ผ่านเอกสารและสื่อสาธารณะ และได้จุดโดดเด่น 8 ข้อ คือ 1) ผ่อนผันโดยชำระเป็นงวดๆ 2) ส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือ 3) ติดต่อ ผ่านฝ่ายบุคคลของสถานที่ทำงานใหม่ 4) เพิ่มช่องทางการชำระเงินคืน 5) บอกต่อ เพื่อนให้นำมาคืน 6) ตรวจสอบสิทธิประโยชน์อื่นของคนที่ยังไม่คืนเพื่อหักล้างกัน 7) ติดต่อแจ้งเตือนทางอินเตอร์เน็ต เช่น อีเมล์ เฟสบุ๊ค ไลน์ 8) ดำเนินคดีตามกฎหมายจากความคาดหวังขององค์กรร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการค้นหาเกิดเป็นโครงการที่นำเสนอเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามเงินเรียกคืน กรณีสงเคราะห์บุตร 3 โครงการคือ 1) โครงการทำหนังสือแจ้งเตือน 2) โครงการ ติดตามผลและแจ้งเตือนทางโทรศัพท์ 3) โครงการประชาสัมพันธ์ผ่านเอกสารและสื่อสาธารณะ หลังจากได้นำโครงการที่ 1 และ 2 ไปทดสอบเก็บข้อมูลภายใน ระยะเวลา 1 เดือน พบว่าผู้ประกันตนนำเงินมาคืนทั้งหมด 43 ราย ซึ่งเป็นจำนวน ที่มากกว่าค่าเฉลี่ย 5 เดือน ซึ่งมีเพียง 13 รายต่อเดือนหรือสูงกว่าถึง 3.3 เท่า จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโครงการที่นำเสนอน่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามเงินเรียกคืนกรณีสงเคราะห์บุตรของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดขอนแก่น เพื่อให้เห็นผลสำเร็จที่แท้จริง โครงการเหล่านี้จะต้องมีการนำเสนอในระดับนโยบายและบรรจุในแผนปฏิบัติงานของสำนักงานประกันสังคมต่อไป

 

The Increase in the Efficiency of Recalling the Overpaid Child Allowance from Insurers Using the Apreciative Inquiry Approach: A Case Study of Khon Kaen Social Security Office

This independent study was an attempt to find ways to increase the efficiency of recalling the overpaid child allowance from the insurers. The problem arose as the insurers were paid more than they should get for the child allowance, which was seriously affected the stability of the Social Security Fund. If this amount of overpaid child allowance could be recalled to its full capacity, there would have enough money left to help others in need with other purposes. Therefore, the purpose of this case study was to find out certain incentives which might encourage the insurers to return the overpaid child allowance to the Social Security Office. The data were collected by using the Appreciative Inquiry approach with 5 open-ended questions. The interviews of 50 insurers were conducted. The results of the data analysis revealed that there were three main shared points: 1) sending notification letter continually, 2) following-up by telephone call after the letter, 3) publicizing the information through different media. Moreover there were eight specific points: 1) paying by installments available, 2) sending a message via mobile phone, 3) contacting the human resources department of the new workplace of insurers, 4) providing more reimbursement channels, 5) telling friends to return it, 6) checking the other benefits of insurers who had not yet paid to balance, 7) contacting and noticing the insurers via the internet services such as e-mail, facebook, Line, and 8) litigation. These results and the outcomes expected by the organization led to the development of three programs: 1) reminding the insurers to return the overpaid child allowance to the Office using the official letter of warning, 2) following-up the process by telephone, and 3) publicizing the news using various sources of media. It was found that after the first two programs were implemented only in one month, 43 insurers returned the overpaid child allowance to the Office. This was 3.3 times higher than the number of insurers found in the last 5 months (only 13 insurers per month). The results of the study tended to reveal the promising effective approach in recalling the overpaid child allowance of Khon Kaen Social Security Office. In order to run more effectively for these programs, it was believed that the programs should be officially supported at the policy level so that the action plan could be further implemented.

Article Details

Section
บทความวิชาการ