การรับรู้และพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดสารพิษ ของครูโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

พิมพ์กานต์ดา เทพวงษ์

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดสารพิษ และเปรียบเทียบการรับรู้กับพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดสารพิษของครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาล ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 380 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ Independent Sample t-test One-Way Analysis of Varianceและ Pearson’s Correlation Coefficient ในการทดสอบสมมติฐาน

ผลการศึกษา พบว่าครูโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่นส่วนใหญ่มีการรับรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับผักปลอดสารพิษที่คะแนนเฉลี่ย 9.39 จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน มีทัศนคติที่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับประโยชน์ในด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เห็นด้วยว่าการเข้าถึงแหล่งผลิตสามารถจูงใจในการซื้อและยอมรับราคาที่สูงกว่าผักทั่วไป แต่ไม่มีความมั่นใจในความปลอดภัยของผักที่บริโภคทั่วไป ส่วนพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดสารพิษ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีแหล่งซื้อผักปลอดสารพิษที่ซุปเปอร์มาร์เกตเพราะสะดวก โดยซื้อสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ค่าใช้จ่ายประมาณ 50 บาท เหตุผลที่บริโภคผักปลอดสารพิษคือ ความห่วงใยในสุขภาพ และให้ความสำคัญในการซื้อผักปลอดสารพิษด้านความปลอดภัยมากกว่าด้านราคา

ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ อายุ การศึกษา ตำแหน่ง รายได้และสายวิชาที่สอนต่างกันมีผลต่อการรับรู้ไม่ต่างกัน แต่เพศ อายุ การศึกษา และรายได้ที่ต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคต่างกัน และทัศนคติด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ต่อปัจจัยด้านความปลอดภัยและราคา ส่วนการรับรู้ไม่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดสารพิษ

 

Perception and Consumption Behavior on Pesticide free Vegetable of Municipal School Teachers in Khon Kaen Municipality, Khon Kaen Province

This study aimed to study consumers’ perception, attitude and behavior on pesticide free vegetables consumption and study comparative perception with behaviors of teachers in municipality schools in Khon Kaen Province. Data were collected by using questionnaire with a total of 380 people, and analyzed by applying descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, mode, standard deviation, inferential statistics including Independent Sample t-test One-Way Analysis of Variance and Pearson’s Correlation Coefficient to test the hypothesis.

The result showed that most of the samples were found to have correct acknowledgment in pesticide free vegetables at average of 9.39 score from 15 full score. They had strong attitude regarding to health and environment benefit. Furthermore, they approved and agreed with having an access to the production source could influence more purchasing and also admitted the price was higher than general vegetables which could not be sure on its safe pesticide use. In terms of consumer behavior of pesticide free vegetables, most of the samples purchased vegetables once a week from supermarket as it was convenience and the average cost per time was below 50 Baht. The reason for consuming pesticide free vegetables was health conscious and they considered safety factors more than price.

The hypothesis test results found that different gender, aged, education, position, income and teaching line was no significant difference on perceptions. But different gender, aged, education, and income had significant difference on consumption. There was a relationship between attitudes towards health and safety factors and price. Different perceptions were not significant to consumption behavior on pesticide free vegetables.

Article Details

Section
บทความวิชาการ