การลดปริมาณถุงซีลไม่สนิทในขั้นตอนการบรรจุข้าวสาร ขนาด 1 กิโลกรัม ด้วยเครื่องบรรจุข้าวสารอัตโนมัติ : กรณีศึกษาบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

รัชดาภรณ์ หอมนาน
พรเทพ ขอขจายเกียรติ

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดถุงเสียในขั้นตอนการบรรจุข้าวสารขนาด 1 กิโลกรัมด้วยเครื่องบรรจุข้าวสารอัตโนมัติ พร้อมทั้งนำเสนอรูปแบบการทำงานของพนักงานให้สอดคล้องกับปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดถุงเสีย เมื่อลำดับความสำคัญของปัญหาด้วยแผนภูมิพาเรโตพบว่าปัญหาถุงซีลไม่สนิทมีจำนวนถุงเสียมากที่สุด ดังนั้นจึงดำเนินการวิเคราะห์หาปัจจัยที่ทำให้เกิดถุงซีลไม่สนิทโดยใช้แผนผังก้างปลา พบว่า ปัจจัยการตั้งอุณหภูมิอุปกรณ์ซีลถุงด้านแนวนอนตัวหน้าและตัวหลังส่งผลให้เกิดปัญหาถุงซีลไม่สนิท จากนั้นออกแบบและดำเนินการทดลองพบว่า อุณหภูมิ อุปกรณ์ซีลถุงด้านแนวนอนตัวหน้า อุณหภูมิอุปกรณ์ซีลถุงด้านแนวนอนตัวหลัง และอิทธิพลร่วมระหว่างอุณหภูมิอุปกรณ์ซีลถุงด้านแนวนอนตัวหน้าและอุณหภูมิอุปกรณ์ซีลถุงด้านแนวนอนตัวหลัง มีผลทำให้เกิดปัญหาถุงซีลไม่สนิทแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้นยังพบว่าการตั้งอุณหภูมิอุปกรณ์ซีลถุงด้านแนวนอน ตัวหน้าที่ช่วงอุณหภูมิ 150-154 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิอุปกรณ์ซีลถุงด้าน แนวนอนตัวหลังที่ช่วงอุณหภูมิ 155-160 องศาเซลเซียส จะทำให้มีสัดส่วนเฉลี่ยของถุงซีลไม่สนิทน้อยที่สุด จากการดำเนินงานด้วยรูปแบบการทำงานที่นำเสนอ พบว่า มีถุงเสียที่เกิดจากปัญหาถุงซีลไม่สนิทร้อยละ 0.09 ของจำนวนถุงที่บรรจุ ทั้งหมด ในขณะที่รูปแบบการทำงานปัจจุบันมีถุงเสียที่เกิดจากปัญหาถุงซีล ไม่สนิทร้อยละ 1.55 ของจำนวนถุงที่บรรจุทั้งหมด ดังนั้นถุงเสียที่เกิดจากปัญหา ถุงซีลไม่สนิทจากรูปแบบการทำงานที่นำเสนอลดลงจากรูปแบบการทำงาน ปัจจุบันคิดเป็นร้อยละ 94.19 ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านวัสดุและด้านแรงงานที่เกิดขึ้นจากปัญหาถุงซีลไม่สนิทเท่ากับ 3,349.15 บาทต่อการบรรจุ 93,600 ถุง

 

Reducing Incomplete Seal of 1 Kilogram Rice Pack in Packing Step by Using Automatic Rice Packing Machine : a Case Study of a company in Khon Kaen Province

This study aimed to study factors affecting unqualified pack of 1 kilogram rice pack in packing step by using automatic rice packing machine, and presenting operating model of employees in the packing step corresponding to factors affecting unqualified pack. When prioritizing with Pareto diagram, it was found that the main problem was incomplete seal. Therefore, it was analyzed to find factor that caused incomplete seal by using Fishbone diagram, which found setting temperature of front and back horizontal seal resulted in incomplete seal. From the experiment, it showed that temperature of front-horizontal seal, temperature of back-horizontal seal and interaction between temperature of front and back horizontal seal resulted in incomplete seal with statistically significant difference. Moreover, setting temperature of front-horizontal seal with temperature range 150-154 °C and setting temperature of back-horizontal seal with temperature range 155-160 °C resulted in minimum average proportion of incomplete seal. The determination of presented operating model had 0.09 % incomplete seal, while the current operating method had 1.55 % incomplete seal. Therefore, the incomplete seal from the present operating model decreased by 94.19 percents compared with the current operating method, and material and labor cost will be reduced by 3,349.15 Baht per 93,600 packs.

Article Details

Section
บทความวิชาการ