การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดของประชาชนตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

อนุรักษ์ วุฒิแขม
ประพันธ์ ธรรมไชย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีการมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเหตุจูงใจการตัดสินใจซื้อ และพฤติกรรมการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดของประชาชนตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 335 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ในการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างโดยใช้เอฟเทสท์ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มผู้บริโภคเป็นเพศชาย ร้อยละ 46.30 และเป็นเพศหญิงร้อยละ 53.70 เป็นช่วงอายุทั้งเพศหญิงและเพศชายที่มีช่วงอายุ 25-35 ปี ขนาดครัวเรือนน้อยกว่า 4 คน มีการศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพพนักงานบริษัทเอกชนหรือรับจ้าง มีรายได้รวมครัวเรือนระหว่าง 5,001-15,000 บาท และพักอาศัยอยู่กับครอบครัวหรือญาติ ลักษณะที่พักอาศัยเป็นบ้าน ความต้องการซื้อนิยมเลือกซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดประเภทบรรจุภัณฑ์แบบลังขนาด 950 ซีซี จำนวนการดื่มในระยะเวลา 1 วัน จำนวน 1-5 ขวด น้ำดื่มบรรจุขวดที่ใช้ประจำเป็นขวดพลาสติกแบบคืนขวด เลือกซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดเพราะคุณภาพ ความสะอาด สะดวก ราคาเหมาะสม มีตรารับรองมาตรฐานการผลิต และใช้น้ำดื่มบรรจุขวดเพื่อดื่ม การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคพบว่าสาเหตุการเลือกบริโภคเกี่ยวกับความจำเป็นต่อ การดำรงชีวิตในระดับมากที่สุด และตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง โดยไม่มีการเปรียบเทียบน้ำดื่มที่เลือกซื้อกับตราอื่น แต่เมื่อน้ำดื่มที่เลือกซื้อในปัจจุบันขาด ตลาดจะซื้อตราอื่นเป็นการชั่วคราว และเมื่อราคาน้ำดื่มบรรจุขวดที่ซื้อปรับราคา สูงขึ้นก็จะซื้อต่อไปในปริมาณเท่าเดิมและซื้อทุกสัปดาห์ มีแนวโน้มการตัดสินใจซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดในปริมาณที่เพิ่มขึ้นในอนาคตเพื่อบริโภคในที่พักอาศัย รูปแบบการส่งเสริมการขายที่ส่งผลทำให้มีโอกาสตัดสินใจซื้อน้ำดื่ม คือ การบริการส่งถึงบ้าน การได้รับข่าวสารหรือประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเลือกซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดจากเพื่อนบ้านหรือญาติพี่น้อง ส่วนใหญ่เลือกซื้อตราเคเอ็ม เหตุจูงใจในการตัดสินใจซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดในปัจจัยด้านจิตวิทยาให้ความสำคัญกับบรรจุภัณฑ์มีความแข็งแรงทนทาน สวยงาม ราคาถูก สะดวกในการสั่งซื้อ ปัจจัยด้านสังคมให้ความสำคัญในการตัดสินใจซื้อมาจากสมาชิกใน ครอบครัว และมีความคิดเห็นตรงกันในเรื่องคุณภาพและราคาของน้ำปัจจัยด้านส่วนผสมการตลาดให้ความสำคัญกับคุณภาพ ความสะอาดและ มีบริการ ส่งสินค้า

 

The Study Behavior Consumption of Bottled Water of Population in Khuamung Sarapee Chiangmai

The objective of this research was to study the motivation and behavior for decision making in buying bottled drinking water of people in Tambon Kua Mung, Saraphi district, Chiangmai. The study based on a simple sample test of 335 people. The data was collected by interviews and analyzed by using frequency, percentage and mean. The F-test was used for standard deviation.

The study found that the consumers were 46.30 male and 53.70 female , age range between 25-35 years old from a family with 4 members or less. Their education level was primary school and they worked for private companies or as general employees. Their household income varied between 5,001-15,000 Baht/month and mostly lived in houses with families or other relatives. The preference product was a pack of 950 cc (0.95 liter) bottles and the amount of bottles used in a day was 1-5 bottles. The regular bottles used were the returnable type. The reasons for buying the bottled drinking water were quality, hygiene, convenience, low price, product standardization, certification and local availability. The purpose of using bottled water was for drinking. The study behavior found sustaining life was the main reason in a decision making and had the most influence on deciding to buy bottled water. In purchasing, most people did not compare the water they chose with water from different providers. If the water from the provider ran out, they would buy from a different provider temporarily. When the price of bottle water rose, they continued buying the same amount as before. They bought the water weekly and there also was a tendency to buy larger amount of drinking water as time went on. The sales promotion that affected decision making the most was delivery. They were informed about buying bottled water from their relatives and neighbors. The provider that most people chose to buy from was K.M. The motivations to buy bottled drinking water depended on the following factors; Psychological factor made people look for a strong, sturdy product, beautiful packaging, cheap price and was convenient to order. Social factor that influenced the decisions to buy bottled drinking bottle water came from family members who agreed in terms of quality and price of the water. Market share factor made people pay attention to quality, cleanness, and delivery service.

Article Details

How to Cite
วุฒิแขม อ., & ธรรมไชย ป. (2016). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดของประชาชนตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. MBA-KKU Journal, 6(1), 69–90. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/article/view/64543
Section
บทความวิชาการ