แนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวที่ประสบอุทกภัย กรณีศึกษา วัดมหาธาตุในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

กันต์พงษ์ เครือศิริกุล

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยววัดมหาธาตุ ความเสียหายของแหล่งท่องเที่ยววัดมหาธาตุที่ประสบอุทกภัย และแนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยววัดหาธาตุที่ประสบอุทกภัย กำหนดกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ ตัวแทนหน่วยงานทางภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนท้องถิ่น จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า เมืองประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยามีคุณค่าในการตั้งตำแหน่งเมืองที่สะท้อนพื้นฐานทางวัฒนธรรม เป็นแม่แบบของเมืองหลักในยุคหลัง และมีเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น และเมื่อประสบอุทกภัยในปี พ.ศ.2554 ทำให้เกิดความเสียหายของอิฐและโครงสร้างของศาสนสถานภายในอุทยานประวัติศาสตร์อันเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่สวยงามอันเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศไทย ดังนั้นแนวทางการจัดการเพื่อให้คงคุณค่าและสอดคล้องตามหลักการของ UNESCO โดยการบูรณปฏิสังขรณ์สรุปได้ 5 ประเด็นหลัก คือ การบูรณะโดยการคำนึงถึงคุณค่าของแหล่งประวัติศาสตร์โดยพยายามใช้วัสดุดั้งเดิม การสร้างขึ้นใหม่ต้องอาศัยความชำนาญของทีมช่าง การดูแลรักษาโดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนช่วยกันสอดส่องดูแลรักษาการพัฒนาและสร้างสรรค์ใหม่ โดยใช้เทคนิคที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมและ การรักษาให้คงสภาพโดยเน้นการดูแลรักษาอย่างถาวร

 

The Management Guidelines for Wat Maha That Temple in the Flooded Historical Park of Sri Ayutthaya

The purposes of this research were to study value of the sights of Wat Mahathat, damage affected by the flood, and destination management approach for measuring periodic floods. The three sample groups were from government agencies, private sector, and local communities. In-depth interviews were conducted. The result found that the historical city location reflected the value of cultural background, it was a city template of the main city in later period, had unique architectural features. The floods in 2554 caused damage to places of worship in the world heritage historical park which was an important cultural sight of the country. Therefore, the management approach to provide a fixed value in accordance with the principles of UNESCO on the restoration were five main issues; 1. Restored 2. Reconstructed 3. Maintenance 4. Development and Innovative and 5. Preservation.

Article Details

Section
บทความวิชาการ