การพัฒนาคู่มือเบื้องต้นสำหรับประเมินการรับรู้สิทธิและหน้าที่ผู้ขายอาหารสด กรณีศึกษา ตลาดคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
Main Article Content
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคู่มือเบื้องต้นสำหรับประเมินการรับรู้สิทธิและหน้าที่ผู้ขายอาหารสด และการหาความสอดคล้องของการรับรู้และปฏิบัติตามสิทธิและหน้าที่ผู้ขายอาหารสด กรณีศึกษา ตลาดคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย จำนวน 25 คนและ ผู้ขายอาหารสด จำนวน 50 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และใช้ความเห็นพ้องของผู้เชี่ยวชาญในการพิจารณากฎหมาย 5 ฉบับ ได้แก่ 1) พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 2) พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 3) พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 4) เทศบัญญัติตำบลคำม่วงเรื่องตลาด ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน 5) สัญญาเช่าทรัพย์สิน เทศบาลตำบลคำม่วงที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเครื่องมือ คือแบบสอบถามและแบบสังเกต ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย และนำคู่มือไปทดลองใช้จนกระทั่งได้คู่มือเบื้องต้นสำหรับประเมินการรับรู้และปฏิบัติตามสิทธิและหน้าที่ผู้ขายอาหาร ผลการประเมินการรับรู้และปฏิบัติตามสิทธิ พบว่า ผู้ขายอาหารสดมี การรับรู้สิทธิในหัวข้อผู้ขายมีสิทธิในการขายของภายในเวลาที่ตลาดเปิดให้บริการ ร้อยละ 84 และมีการปฏิบัติตามสิทธิ ร้อยละ 80 ในหัวข้อได้รับการจัดหาสุขาที่ถูกสุขลักษณะสำหรับใช้ในตลาดผู้ขายอาหารสดมีการรับรู้ จำนวนร้อยละ 98 แต่ไม่มีการปฏิบัติตามสิทธิผลการประเมินการรับรู้และปฏิบัติตามหน้าที่ พบว่า การรับรู้หน้าที่ในหัวข้อการติดป้ายราคา ร้อยละ 94 แต่มีการปฏิบัติตามหน้าที่เพียง ร้อยละ 4 การรับรู้หน้าที่ในหัวข้อ การสวมผ้ากันเปื้อนและหมวกคลุมผมในขณะขายอาหารที่ตลาด ร้อยละ 100 แต่มีการปฏิบัติตามหน้าที่เพียง ร้อยละ 2
The Development of Preliminary Handbook for Evaluating the Sellers’ Perceptions toward Their Rights and Obligations of Fresh Food Selling. Case Study : Khammuang Market, Kalasin Province
This research aimed to develop the preliminary handbook to evaluate the perception of rights and obligations of fresh food sellers as well as determination of their accordant perception and compliance towards their rights and obligations: case study of Khammuang market, Kalasin province. Purposive selection was performed to obtain study samples which included 25 legal experts and 50 fresh food sellers. All legal experts were asked to consensually consider 5 laws; 1. Consumer protection Act, B.E. 2522 (1979) and supplements 2. Food Act, B.E. 2522 (1979) and supplements 3. Public health Act, B.E. 2535 (1992) and supplements 4. Current Khammuang Ordinance on markets and 5. Current rental contract. Research tools were questionnaire and observations. Legal experts’ opinions were surveyed and pilot study was conducted. The result of assessment to perception and compliance for their rights showed that 84% of food sellers knew the right to sell in the open market and compliancy 80%. 98% perceived of supplying hygienic toilets in the market but no compliancy. The result of assessment to perception and compliance for obligation showed that the perception in topic the price tag was 94% but only 4% compliancy. The perception in wearing apron and cap for selling food was 100% but only 2% compliancy.
Article Details
- The ideas and opinions expressed in MBA-KKU Journal are those of the authors and not necessarily those of the editor.
- Copyright on any open access article in a journal published by MBA-KKU Journal