การปฏิบัติตามกลยุทธ์การประกันคุณภาพของสถานศึกษาเอกชนขนาดเล็กในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1

Main Article Content

สุภาพงษ์ ญาณไพศาล
ประยุทธ ชูสอน

Abstract

การศึกษาวิจัยเรื่องการปฏิบัติตามกลยุทธ์ด้านการประกันคุณภาพของสถานศึกษาเอกชนขนาดเล็กในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการประกันคุณภาพ และนำเสนอแนวทางการปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ในการประกันคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 536 คน ซึ่งแบบสอบถามมีค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC) เท่ากับ 0.6-1.00 และค่าเเอลฟ่าเท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำผลจากการวิเคราะห์แบบสอบถามมาเป็นแนวทางคำถามในการสนทนากลุ่มกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางการปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์

ผลการวิจัยพบว่า ระดับการปฏิบัติการประกันคุณภาพด้านคุณภาพผู้เรียนอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการจัดการศึกษา ด้านสังคมแห่งการเรียนรู้ ด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา และด้านมาตรการส่งเสริมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพปัญหาในด้านคุณภาพผู้เรียนมีปัญหาอยู่ในระดับมาก ปัญหาด้านการจัดการศึกษาด้านสังคมแห่งการเรียนรู้ และด้านมาตรการส่งเสริมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัญหาด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษาอยู่ในระดับน้อย

แนวทางการปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์จากการสนทนากลุ่มได้ 2 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์เพิ่มศักยภาพ ควรส่งเสริมและสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพ การจัดห้องสมุดที่ให้บริการสื่อและเทคโนโลยีสร้างแหล่งเรียนรู้ทั้งภายใน และภายนอกสถานศึกษา มีการร่วมมือกันระหว่างสถานศึกษา ผู้ปกครองและ ชุมชนในการกำหนดเอกลักษณ์ของสถานศึกษา และกลยุทธ์แก้วิกฤต ควรเร่งรัด และให้ความสำคัญต่อการใช้เทคโนโลยีการจัดการประชุมย่อยระหว่างผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งภายนอกและภายในสถานศึกษา

 

Strategic Implementation of Quality Assurance for Private Small School in Khonkaen Primary Educational

The objective of this research, titled “Strategic Implementation of Quality Assurance for Small Scholl In Khonkaen Primary Educational Service Area 1”, were to study the situation and problem in Quality Assurance of Small Sized Private Schools, and to suggest the guidelines for strategic practice for Quality Assurance. Questionnaires were as a tool to collect data with a sample group of 536 people. The validity of the questionnaires was examined by using IOC index formula was 0.6-1.00 and Alpha value 0.80. The data were analyzed by descriptive statistic using percentage, mean, and standard deviation. Then, the result of data analysis was the guideline for focus group Discussion interviewing with stakeholders to find out the tactical strategy practice.

The research found the practice level in students’ quality was at high level. For Educational Management, Supportive Measure, School Identity, and Learning Society respectively were at moderate level. For problem situation; in students’ quality was at high level, in educational management, supportive measure, earning Society were at moderate level, and in school identity was at poor level.

The guidelines for strategic practice consisted of two strategies; 1. Improving the potentiality: promoting and supporting health care project, providing service in media and technology in the library, constructing the learning sources in both of inside and outside the school and collaborating between school parents and community for determining the school identity. And the second strategy was solving the crisis: the technology usage should be focused and emergently performed, the conference between the executive and personnel should be held, and the learning sources in both inside and outside the school, should be constructed and developed.

Article Details

Section
บทความวิชาการ