การประสานงานเครือข่ายการท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานขอนแก่น
Main Article Content
Abstract
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการประสานงานเครือข่ายการท่องเที่ยว ปัญหาอุปสรรคและแนวทางในการพัฒนาการประสานงานเครือข่ายการท่องเที่ยว ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานขอนแก่น ประชากรคือ องค์กรเครือข่ายการท่องเที่ยว ในจังหวัดขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และมหาสารคามจากหน่วยงานภาครัฐ 60 หน่วยงาน ภาคเอกชน 50 หน่วยงาน และสื่อมวลชนในจังหวัดขอนแก่น 30 หน่วยงาน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นแบบสอบถาม (Questionnaires) หาค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอน บาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปได้แบบสอบถามสำหรับการวิเคราะห์ 103 ชุด ผลการศึกษาพบว่า การประสานงานเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยภาพรวมทั้ง 6 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง (X=3.39) ดังนี้ ด้านปัจจัยการประสานงาน บุคลากรในหน่วยงานมีมนุษยสัมพันธ์และมีทัศนคติที่ดี มีการบริหารจัดการให้งานบรรลุได้ ด้านลักษณะการประสานงานใช้ความเข้าใจ การตกลงร่วมกัน การสร้างบรรยากาศในการทำงานร่วมกัน เป็นสื่อกลางเชื่อมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ด้านหลักการประสานงานมีบุคลากรที่ให้ความช่วยเหลือทั้งรูปแบบการประสานงานที่เป็น ทางการและไม่เป็นทางการด้านรูปแบบการประสานงาน มีรูปแบบการประสานงาน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการทั้งในระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติ ด้านกิจกรรมและเทคนิคการประสานงาน มีการใช้วิธีการประสานงานในรูปแบบต่างๆ การพัฒนาบุคลากรและกิจกรรมการประสานงาน มีการสร้างบรรยากาศ ความเป็นมิตรในการประสานงาน ร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยเครือข่าย ให้ความ ช่วยเหลือ และบริการด้วยความกระตือรือร้นและเป็นมิตร ผลการศึกษาได้ ข้อเสนอแนะ คือ หน่วยงานควรสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ และงบประมาณให้เพียงพอ ทำความตกลงร่วมมือกันกับเครือข่ายในการกำหนดเขตระยะเวลาในการประสานงาน มีการสั่งการและมอบหมายงานตามลำดับขั้นและให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างเครือข่าย
Tourism Networks’ Coordination for Tourism Authority of Thailand : Khonkaen’s Office
The objectives of this study were to study situation of coordination, problem and barriers, and guideline for improving a tourism networks’ coordination of Tourism Authority of Thailand at Khon Kaen Office. The populations were tourism network agencies in the following provinces; Khon Kaen, Roiet, Kalasin, and Mahasarakham. There were 60 government sectors, 50 private sectors and 30 media sectors in total of 140 agencies. Questionnaires were used as tools and Cronbach’s Alpha Coefficient was applied for data analysis. The study result found that an overall network coordination of six perspectives was at moderate level(x= 3.39) as follows; the factor of coordination, personnel had good relationships and attitude, achieved the defined objectives in management of coordination. As for the nature of coordination, it required understanding, mutual agreement, creating of teamwork atmosphere amongst all sectors, and performing as a center to connect personnel within or between agencies to be a unity. As for the principle of coordination, agencies had personnel to assist in coordination with generosity which provided both official and unofficial coordination. As for a form of coordination, agencies had both official and unofficial coordination at policy and operational levels. It also needed to assign written and clear authorities and responsibilities. As for technique and activity of coordination, agencies had several coordination patterns. They used different ways of coordination along with a coordinating development of human resources in order to achieve in operational success. As for an activity of coordination, agencies took part in activities organized by the network. They also provided assistance and service to personnel of networks with friendly and enthusiastic manners. Furthermore, they supported and cooperated with agencies appropriately. The study suggested that agencies should allocate sufficient materials and budget, make an agreement with networks to determine a coordinating time, an appropriate timeline, and a non-overlapping coordination, required coordination, direction, and assignment from a top level respectively, organize friendship activities by giving souvenirs to network agencies on a special occasion.
Article Details
- The ideas and opinions expressed in MBA-KKU Journal are those of the authors and not necessarily those of the editor.
- Copyright on any open access article in a journal published by MBA-KKU Journal