ข้อเสนอการบริหารความเสี่ยงเพื่อรองรับระบบการโอนเงินชำระหนี้ จากเงินงบประมาณแผ่นดิน งบรายจ่ายเงินอุดหนุน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Main Article Content

สุภาภรณ์ ศรีอั่ง
ศักดิ์ชัย เจริญศิริพรกุล
อารมย์ ตัดตะวะศาสตร์

Abstract

การศึกษาเรื่องข้อเสนอการบริหารความเสี่ยงเพื่อรองรับระบบการโอนเงินชำระหนี้ จากเงินงบประมาณแผ่นดิน งบรายจ่ายเงินอุดหนุน มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากระบบการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารให้เจ้าหนี้ จากเงินงบประมาณแผ่นดิน งบรายจ่ายเงินอุดหนุน มหาวิทยาลัยขอนแก่น และจัดทำข้อเสนอแนะในการบริหารความเสี่ยง โดยการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานแล้วนำมาวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงอันเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานและการใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องได้แก่ กลุ่มหน่วยงานส่วนกลาง ภายในกองคลังที่ทำหน้าที่เบิก-จ่ายเงินและกลุ่มคณะหน่วยงาน ซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้ขอเบิกเงิน ผลการศึกษาพบว่า ในด้านระบบการโอนเงินชำระหนี้ จากเงินงบประมาณแผ่นดิน งบรายจ่ายเงินอุดหนุน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในภาพรวมแล้วมีความเสี่ยงทั้งสิ้น 29 ข้อ แบ่งตามประเภทของความเสี่ยง 5 ด้านคือ ด้านนโยบาย ด้านการปฏิบัติงาน ด้านทรัพยากรมนุษย์ ด้านสารสนเทศและการสื่อสารและด้านปัจจัยอื่นๆ โดยพบว่าความเสี่ยงระดับ “สูงมาก” มีจำนวน 11 ข้อ ระดับ “สูง” มีจำนวน 8 ข้อ ระดับ “ปานกลาง” มีจำนวน 10 ข้อ ซึ่งในด้านนโยบายควรมีการกำหนดมาตรการที่ชัดเจนในการปฏิบัติงาน มีขั้นตอนของการวิเคราะห์งาน ให้ความสำคัญในการปฏิบัติงานแบบคู่ขนานของบุคลากร ด้านทรัพยากรมนุษย์ควรมีการส่งเสริมการจัดการองค์ความรู้ภายในองค์กร การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน การส่งเสริมให้มีการวิเคราะห์งานเพื่อจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร ควรมีการพัฒนาและส่งเสริมให้บุคลากรใช้สารสนเทศเป็นเครื่องมือในการสื่อสารข้อมูลในด้านการปฏิบัติงานทั้งภายในและภายนอกองค์กร และควรมีการสร้างเสริมบรรยากาศในการปฏิบัติงาน การส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีภายในองค์กร

ABSTRACT

This independent study, a qualitative research, aimed to identify risks in transaction system of government subsidy budget of Khon Kaen University and recommend risk management approach for the system. In order to triangulate the research findings, related documents were analyzed; semi-structured interviews were applied to collect opinion from the system stakeholders. Results found that there were 29 items of risk in the system. These risks were grouped into 5 categories: policy risk; operation risk; human resource risk; information and communication risk; and miscellaneous risk. Among these risks, 11 items were identified to be very high level risk, 8 items were high level risk, and 10 items were moderate risk. The study, eventually, proposed the risk management approach for the system as follows. For policy risk, a clear procedure should be established for the system and job analysis should be included into the system. For operation risk, precedence should be provided to set up cross checking work process. For human resource risk, knowledge management in the organization should be encouraged; upgrade staff competence; and persuade staffs to analyze their jobs in order to arrange working procedure. For information and
communication risk, the staffs should be encouraged to use information as tool in both inside and outside operation; to create productive working atmosphere and establish constructive organization culture.

Article Details

How to Cite
ศรีอั่ง ส., เจริญศิริพรกุล ศ., & ตัดตะวะศาสตร์ อ. (2016). ข้อเสนอการบริหารความเสี่ยงเพื่อรองรับระบบการโอนเงินชำระหนี้ จากเงินงบประมาณแผ่นดิน งบรายจ่ายเงินอุดหนุน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. MBA-KKU Journal, 5(1), 27–44. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/article/view/64686
Section
บทความวิชาการ