การจัดการแหล่งท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุในภาคเหนือตอนบน
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาและจัดการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุในรูปแบบ Slow Tourism โดยรวบรวมข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวใน 8 จังหวัดภาคเหนือ และทำการคัดกรอง คัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสำรวจและประเมินศักยภาพและความพร้อมในการรองรับการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ จาก 4 องค์ประกอบหลัก คือ การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว คุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว และสิ่งบริการการท่องเที่ยวในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งตัวชี้วัดในแต่ละองค์ประกอบ และเกณฑ์การประเมินได้รับการพิจารณาให้ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการท่องเที่ยวผลการคัดกรองแหล่งท่องเที่ยวภาคเหนือตอนบน 681 แห่งในเบื้องต้น พบว่ามีแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุเพียง 139 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทศาสนสถานและประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ในเขตตัวเมือง มีการเข้าถึงสะดวกมีสิ่งบริการและอำนวยความสะดวกค่อนข้างสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานพยาบาล ด้านศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว พบว่าแหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีศักยภาพระดับปานกลาง อย่างไรก็ตาม แหล่งท่องเที่ยวทุกแห่งยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกและสิ่งบริการไม่เพียงพอและไม่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ และยังขาดกิจกรรมรองรับการท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism ดังนั้น แนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเพื่อรองรับการเดินทางท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism สำหรับผู้สูงอายุ จึงต้องมุ่งเน้นการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวเร่งพัฒนากิจกรรมที่จะช่วยให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ สัมผัส และซึมซับคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่ในแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวสำหรับผ้สูงอายุ และการจัดการท่องเที่ยวในรูปแบบที่ไม่เร่งรีบ
ABSTRACT
This research article studies and evaluates the quality of tourist attractions in the upper Northern region of Thailand to find ways to develop tourism for elderly tourists through slow tourism by summarizing data from 8 provinces and analyzing the information with the aim to select and evaluate the quality and readiness of these attractions to facilitate travel and tourism of elderly tourists according to 4 main measures. These measures include travelling to the tourist attraction, convenience for elderly people at the tourist attraction, the value of the tourist attraction and services at in the direct vicinity. Indicators of the different measures and standards are evaluated for assessment by experts and scholars in tourism. The results of the analysis of 681 tourist attractions in the upper Northern region of Thailand are that there are 139 attractions of capacity to organize slow tourism for elderly tourists. These attractions are predominantly religious and historical sites in urban areas. They offer quality facilities and services, especially in nursing. The capacity of most tourist attractions is medium. In conclusion, convenience and service at tourist attractions is suboptimal and they are not appropriate for elderly tourists; they miss activities to accommodate slow tourism. Therefore, in management of tourist attractions to accommodate slow travel and tourism for elderly people, the focus has to be on renovating facilities in the tourist attractions. In addition, there is a need for developing activities to help tourists learn, come in contact with and grasp the value of tourist locations as well as develop staff in the area of knowledge and understanding of organizing tourism for elderly people and slow tourism management.
Article Details
- The ideas and opinions expressed in MBA-KKU Journal are those of the authors and not necessarily those of the editor.
- Copyright on any open access article in a journal published by MBA-KKU Journal