ผลกระทบของการใช้จ่ายภาครัฐบาลต่อตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาคของประเทศ ระหว่างปี 2536-2553

Main Article Content

สริญญา ลัทธิ์ถีระสุวรรณ
ฐิติวรรณ ศรีเจริญ

Abstract

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์มหภาคขนาดเล็กของประเทศ และศึกษาผลกระทบของการใช้จ่ายภาครัฐบาลต่อตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาคของประเทศ ระหว่างปี 2536-2553 โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ รายไตรมาส ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2536 (ไตรมาสที่ 1) ถึง พ.ศ.2553 (ไตรมาสที่ 4) โดยในแบบจำลองที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 4 กลุ่มสมการ หรือ 12 สมการ คือ กลุ่มสมการการใช้จ่ายภายในประเทศ มี 3 สมการ กลุ่มสมการการค้าระหว่างประเทศ มี 3 สมการ กลุ่มสมการผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ มี 2 สมการ และกลุ่มสมการการเงิน มี 4 สมการ ในแบบจำลองทั้งหมดมี 16 ตัวแปร การกะประมาณค่าสัมประสิทธิ์ของสมการในแบบจำลองใช้วิธีกำลังสองน้อยที่สุด ตลอดจนทำซิมูเลชั่น เพื่อทดสอบความสมบูรณ์ของแบบจำลองและวิเคราะห์นโยบายการใช้จ่ายภาครัฐบาลเมื่อกำหนดให้การใช้จ่ายภาครัฐบาลเพิ่มขึ้นแบบถาวรร้อยละ 4 ร้อยละ 8 และ ร้อยละ 12 ต่อไตรมาส ผลการศึกษาทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ การบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน การนำเข้า อุปสงค์ของเงินตรา และอุปทานของเงินตรา มีค่าเพิ่มขึ้นจากเดิม ส่วนการส่งออก และการส่งออกสุทธิ (เกินดุล) มีค่าลดลงจากเดิม ยกเว้น อัตราดอกเบี้ย จะมีค่าลดลงในกรณีที่กำหนดให้การใช้จ่ายภาครัฐบาลเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4 ต่อไตรมาส และจะมีค่าเพิ่มขึ้นในกรณีกำหนดให้การใช้จ่ายภาครัฐบาลเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8 และร้อยละ 12 ต่อไตรมาส ทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้

ABSTRACT

The objectives of this study are to create a small macroeconomic model and to analyze the impact of government expenditure on macroeconomic variables of Thailand from 1993 to 2010 by using quarterly secondary data during the first quarter of 1993 to the fourth quarter of 2010. The academic model consists of 4 groups of equation or 12 equations; which are domestic expenditure group (3 equations), international trade group (3 equations), gross domestic product group (2 equations), and financial group (4 equations). Hence, there are total of 16 variables. Estimating the model’s equation is applied by ordinary least square method. Additionally, we use the simulation to examine the model validation and to analyze the government expenditure policy. According to the results of policy simulation, when government expenditure are increasing permanently by 4, 8 and 12 percent per quarter, it causes gross domestic product, private consumption, private investment, import, demand for money, supply for money would be increase. However, the export and net export would be decreased. The exception is the case of interest rate that will decrease when the government expenditure increase 4 percent per quarter, but it was increase when government expenditure increases 8 percent and 12 percent per quarter.

Article Details

How to Cite
ลัทธิ์ถีระสุวรรณ ส., & ศรีเจริญ ฐ. (2016). ผลกระทบของการใช้จ่ายภาครัฐบาลต่อตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาคของประเทศ ระหว่างปี 2536-2553. MBA-KKU Journal, 5(1), 117–136. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/article/view/64700
Section
บทความวิชาการ