การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตน้ำตาลโดยประยุกต์ใช้เทคนิคการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม กรณีศึกษา: บริษัทรวมเกษตรกรอุตสาหกรรม จำกัด (สาขามิตรภูเวียง)
Main Article Content
Abstract
บทความนี้ เป็นการศึกษาการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตน้ำตาลของบริษัทกรณีศึกษา ซึ่งประสบปัญหาผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยลดลงจากปีการผลิต พ.ศ. 2552/2553 ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ดังนั้นจึงได้นำเครื่องมือการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วมมาใช้บริหารจัดการร่วมกับหลักการปรับปรุงเฉพาะเรื่อง โดยเน้นกิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตให้ต่ำที่สุด การดำเนินงานวิจัยเริ่มจากการคัดเลือกปัญหาโดยนำเครื่องมือพื้นฐานทางสถิติมาวิเคราะห์ปัญหา ได้แก่ แผนภูมิพาเรโต แผนภาพต้นไม้ และเมตริกซ์ความสัมพันธ์ ซึ่งดำเนินงานตามขั้นตอนของหลักการปรับปรุงเฉพาะเรื่อง โดยพบว่าปัญหาสำคัญ คือ การสูญเสียน้ำตาลในกากน้ำตาลสุดท้ายซึ่งเกิดในกระบวนการเคี่ยวและการปั่นน้ำตาล จากนนั้ นำไปวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของปัญหาโดยใช้เครื่องมือ แผนภาพก้างปลา ใบตรวจสอบ และวิธีวิเคราะห์แบบ ทำไม ทำไม (Why Why) พบว่าสาเหตุหลักเกิดจาก คน เครื่องจักรอุปกรณ์ วัตถุดิบ และวิธีการผลิต ตามลำดับ และได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขและสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงานโดยใช้วงจรคุณภาพ (PDCA) ผลลัพธ์จากดำเนินงานวิจัยพบว่าการสูญเสียน้ำตาลในกากน้ำตาลสุดท้ายลดต่ำลง โดยค่าประสิทธิภาพการเคี่ยวและการปั่นเท่ากับ 81.87 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเพิ่มขึ้น 0.43 เปอร์เซ็นต์ ได้ผลผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นเท่ากับ 110.6 กิโลกรัมต่อตันอ้อย เพิ่มขึ้นจากเดิม 3.01 กิโลกรัมต่อตันอ้อย คิดเป็นปริมาณน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นทั้งปีประมาณ 9,925.61 ตัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีการผลิต 2552/2553 ส่งผลให้ บริษัทสามารถลดต้นทุนการผลิตน้ำตาลได้ 1,616.86 บาทต่อตันน้ำตาล
ABSTRACT
This paper studied productivity improvement by total productive maintenance techniques by a case study of the United Farmer & Industry Co., Ltd. (Mitr Phuvieng Branch), Khon Kaen province. In the 2009/2010 crushing period, the factory faced a problem that the sugar yield per ton of cane declined and the production cost also increased. Thus, total productive maintenance and focus improvement techniques were used for process management and focused on activities which directly affect sugar loss in the production process. Firstly, the problems were analyzed using multiple basic statistical methods such as Pareto chart, Tree diagram and Correlation matrix. The results showed that sugar loss in the final molasses was high in crystallization and centrifuging processes. Next, the main problems were analyzed using a fish bone diagram, check sheet and why-why analysis methods. Results showed that the main causes were human, machine, materials and production methods, respectively. The PDCA method was used to guide working and improve the production process. Then the total productive maintenance and focus improvement techniques were used. The results showed that sugar loss in final molasses decreased and the efficiency of the crystallization and centrifuging process was 81.87 percent, which is 0.43 percent higher than that for the 2009/2010 crushing period. In addition, the sugar yield was 110.6 kilogram per ton of cane, which is 3 kilograms higher than in the last year. So sugar yield production was increased by approximately 9,925.61 tons per year. Based on these results, the production cost decreased by approximately 1,616.86 baht per ton of sugar compared to the previous year data.
Article Details
- The ideas and opinions expressed in MBA-KKU Journal are those of the authors and not necessarily those of the editor.
- Copyright on any open access article in a journal published by MBA-KKU Journal