การศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจบริการระบบน้ำหยดบนผิวดินแบบเคลื่อนที่ได้แก่ชาวไร่อ้อยรายย่อย จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจบริการระบบน้ำหยดบนผิวดินแบบเคลื่อนที่ได้ แก่ชาวไร่อ้อยรายย่อย จังหวัดนครราชสีมา 4 ด้าน คือ ด้านเทคนิค ด้านการตลาด ด้านการจัดการ และด้านการเงิน รวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามจากชาวไร่อ้อยรายย่อยในเขตอำเภอห้วยแถลงจำนวน 100 ราย จาก 747 ราย โดยการสุ่มอย่างง่าย รวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงและทำการสัมภาษณ์แบบลึกกับเกษตรกรที่ใช้และมีประสบการณ์ในการใช้ระบบน้ำหยดบนผิวดินแบบเคลื่อนที่ได้จำนวน 3 ราย วิเคราะห์สภาพพื้นที่และวิเคราะห์โอกาสในการสร้างธุรกิจจากข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่าผู้ประกอบการธุรกิจบริการระบบน้ำหยดบนผิวดินมีการลงทุนซื้ออุปกรณ์และรถบรรทุกรวม 1,365,550 บาท ให้บริการกลุ่มลูกค้าชาวไร่อ้อยที่ปลูกปลายฝนและอ้อยตอ แหล่งน้ำที่ใช้ในการบริการลูกค้านำมาจากแหล่งน้ำสาธารณะในรัศมี 20 กิโลเมตร ด้านการเงินพบว่า ธุรกิจมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 1,088,954 บาท อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (BCR) เท่ากับ 1.80 เท่า อัตราผลตอบแทนภายในโครงการ (IRR) เท่ากับ 25.26% และระยะเวลาคืนทุน (PB) เท่ากับ 3 ปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ในทางธุรกิจ
ABSTRACT
The objective of this study was to investigate project investment feasibility covering four aspects: techniques, marketing, management, and finance. Primary data were collected from 100 samples by questionnaire. Another survey was done by interviewing 3 key informants who have experience using mobile drip irrigation. Statistical analysis was performed by frequency, percentage and average. In addition, area analysis and opportunity to initialize the business assessment were also undertaken. The study results reveal that service unit investment cost was about 1,365,550 baht. Financial analysis showed the project to be feasible with the net present value (NPV) of 1,088,954 baht, the benefit-cost ratio (BCR) of 1.80 times, Internal Rate of Return (IRR) of 25.26% and the payback period (PB) was 3 years. Finally, the project paid off financially.
Article Details
- The ideas and opinions expressed in MBA-KKU Journal are those of the authors and not necessarily those of the editor.
- Copyright on any open access article in a journal published by MBA-KKU Journal