ทิศทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับปัญหาแรงงานของภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทิศทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับปัญหาแรงงานของภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทยที่เกิดจากปัจจัยภายในและภายนอก รวมถึงผลกระทบจากปัจจัยภายนอกที่มีต่อปัจจัยภายใน ซึ่งได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์จากกลุ่มตัวอย่างบริษัทผลิตรถยนต์จำนวน 4 ราย และโดยการใช้แบบสอบถามสำหรับผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์จำนวน 32 ราย สำหรับพนักงานจำนวน 800 ราย ได้ทำการวิเคราะห์ผลเชิงสถิติเพื่อหาระดับความสำคัญของปัญหา และวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ให้ความสำคัญในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ มากที่สุด (40.70%) และพนักงานมีความพึงพอใจต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรด้านระเบียบวินัย มากที่สุด (36.30%) และเมื่อใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบหลักมาวิเคราะห์ความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรพบว่า ตัวแปรต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ตามลำดับความสำคัญดังนี้ 1. การวางแผนเพื่อพัฒนาคนและองค์กร 2. การบริหารค่าตอบแทนและผลประโยชน์ 3. การธำรงรักษาพนักงาน และ 4. ความก้าวหน้าในงาน จากองค์ประกอบทั้ง 4 องค์ประกอบ สามารถอธิบายได้ว่าการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ การสรรหา พัฒนา รักษาไว้ ดังนั้นทิศทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับปัญหาแรงงานผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์จะต้องมีการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ที่ดี เพื่อให้ได้บุคลากรที่ดี มีความสามารถเข้ามาทำงานร่วมกับองค์กร และเมื่อได้คนดีมีความสามารถแล้วต้องมีการพัฒนาบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะเป็นการธำรงรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรในระยะยาว
ABSTRACT
This study aims to determine the direction of human resource management to answer the labor problem caused by external and internal factors of the automobile industry in Thailand, including the impact of external factors on the internal factors. Data were collected by in-depth interviews with 4 human resource administrators from automobile manufacturers and by using questionnaires for 32 human resource administrators, as well as about 800 employees. Data were analyzed statistically to find the level of importance of the problem and using factor analysis for employee satisfaction. Results showed that administrators of human resource departments are important in the human resources planning (40.7%) as well as employee satisfaction with the discipline of the organization’s human resource management. Using factor analysis on employee satisfaction with human resource management, variables that are related to the four element priorities are: 1. Planning and organizational development; 2. Executive compensation and benefits; 3. Maintenance staff and 4. Works in progress. These four elements can explain how to improve recruitment and retention by human resource management. Therefore if human resource management is to answer the labor problem, administrators of human resource departments should use human resource planning to get good people who have talent to work within the organization, and then to constantly improve to encourage long-term employees to remain with the organization.
Article Details
- The ideas and opinions expressed in MBA-KKU Journal are those of the authors and not necessarily those of the editor.
- Copyright on any open access article in a journal published by MBA-KKU Journal