การศึกษาผลกระทบทางธุรกิจของร้านวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ต่อร้านวัสดุก่อสร้างแบบดั้งเดิม ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับร้านวัสดุก่อสร้างแบบดั้งเดิม ในการเข้ามาของร้านวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อและปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเลือกซื้อวัสดุก่อสร้าง รวมถึงเพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับตัวและพัฒนาของธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้างแบบดั้งเดิม การศึกษาครั้งนี้ทำการเก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบกับการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ กับผู้ประกอบการ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ปี ทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาทขึ้นไป มีจำนวน 46 ราย และกลุ่มผู้บริโภค จำนวน 400 ราย จากประชากรทั้งหมด 397,291 คน คำนวณโดยใช้สูตร ทาโร ยามาเน (Yamane, 1967) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for Windows เวอร์ชั่น 17 เพื่อหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไค-สแควร์ (Pearson chi-Square test) ผลการศึกษาพบว่าการเข้ามาของร้านวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ ส่งผลกระทบต่อยอดขายของร้านวัสดุก่อสร้างแบบดั้งเดิมเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากร้านวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่มีการส่งเสริมการตลาดอย่างต่อเนื่อง มีอำนาจต่อรองกับผู้ผลิต มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ มีทำเลที่ตั้งเหมาะสมมีการบริหารที่เป็นระบบ มีการจัดสินค้าที่เป็นหมวดหมู่ ทำให้เป็นที่น่าสนใจและดึงดูดใจแก่ผู้บริโภค ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้บริโภค ซึ่งจากการวิจัยยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะเลือกซื้อวัสดุก่อสร้างจากร้านวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ เนื่องจากเห็นว่าสินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐานและมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบมากกว่าร้านวัสดุก่อสร้างแบบดั้งเดิม ดังนั้น เพื่อความอยู่รอดร้านวัสดุก่อสร้างแบบดั้งเดิม ควรมีการรวมตัวกัน เพื่อสร้างอำนาจการต่อรองกับผู้ผลิตเพื่อแก้ปัญหาด้านต้นทุนสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ โดยควรมีการปรับตัวด้านการดำเนินงาน ด้านการส่งเสริมการตลาด และเน้นการติดตามพฤติกรรมผู้บริโภค เนื่องจากผลกระทบที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นส่วนสำคัญ
ABSTRACT
This thesis aimed to study: (1) the operation of the traditional construction material trade in Muang District, Udornthani Province; (2) the impact of the entrance of the modern construction material trade on the traditional trade; (3) the buying behavior of customers buying construction materials; (4) the important factors for construction material buying and (5) a proposed development approach and direction for the traditional construction material trade. In this study, questionnaires were used to record data from a representative sample of 46 entrepreneurs, who had been opened for more than 10 years and had 1 million baht or more of startup capital as well as a representative sample of 400 customers from the 397,291 population in the study area, calculated using the formula of Taro Yamane, at the 0.05 Level of significance. Results were analyzed by the software package SPSS for Windows to find the frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s Chi-Square Test
The results of the study show that the participation of modern trade impacted on the sales management of the traditional trade with their continued marketing promotion, bargaining power with suppliers, use of new technology, appropriate location, systematic administration and categorized products. The modern trade was interesting and attractive to consumers which resulted in changes in consumer attitudes. It was found that the representative sample mainly bought construction material from the modern trade, as the customer believes the modern trade has a greater variety of products than the traditional trade. So in order to survive, the traditional construction material trade should group together to create authority to negotiate with suppliers, fight high product costs and be competitive with the modern trade. The traditional trade should adapt operations, marketing promotion and consumer relations because the greatest impact derives from customer behavior.
Article Details
- The ideas and opinions expressed in MBA-KKU Journal are those of the authors and not necessarily those of the editor.
- Copyright on any open access article in a journal published by MBA-KKU Journal