ผลกระทบของการใช้จ่ายเงินงบประมาณต่อความเชื่อมโยง ทางเศรษฐกิจของจังหวัดเลย : ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อพัฒนาแบบจำลองปัจจัยการผลิต - ผลผลิตของจังหวัดเลย แบบไม่มีการสำรวจ โดยใช้แบบจำลองและค่าสัมประสิทธิ์
การผลิตจากปัจจัยการผลิต - ผลผลิตของประเทศไทย ในการวิเคราะห์ความเชื่อมโยง สาขาการผลิตและผลกระทบของการใช้จ่ายงบประมาณของจังหวัดเลยต่อเศรษฐกิจ สำหรับผลการเชื่อมโยงด้านผลผลิต พบว่า สาขากิจกรรมที่มิอาจระบุประเภทได้ สาขาการผลิตผลิตภัณฑ์ยางและผลิตภัณฑ์พลาสติก และสาขาตัวกลางทางการเงิน เป็น 3 สาขาที่ทำให้เกิดผลผลิตรวมมากที่สุดในจังหวัดเลย ความเชื่อมโยงด้านการจ้างงาน สาขาบริการชุมชนและสังคม สาขาบริการทางการเกษตร และสาขาปศุสัตว์ ทำให้เกิดการจ้างงานมากที่สุดในจังหวัดเลย ผลการเชื่อมโยงทางด้านรายได้ สาขาการผลิตที่สำคัญสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ สาขาการปลูกพืชชนิดยืนต้น พืชล้มลุกธัญพืช และพืชชนิดอื่นๆ สาขาการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม และสาขาการค้าปลีก นอกจากนี้ผลที่ได้จากการศึกษายังชี้ให้เห็นสาขาที่ส่งผลกระทบในเชิงบวกมากที่สุดจากการใช้จ่ายงบประมาณของจังหวัดเลยในด้านรายได้ ได้แก่ สาขาการขนส่ง สาขาการก่อสร้าง และสาขาการศึกษา ในขณะที่ในด้านการจ้างงาน ได้แก่ การก่อสร้าง การขนส่ง และบริการสุขภาพ เป็นสาขาที่สำคัญที่สุด
Abstract
The objectives of this study were to develop an input - output model for Loei province without surveying primary data, based on Thailand’s
input – output coefficients matrix, and to utilize the model in analyzing sectoral linkages and impacts of Loei government expenditure on the economy. For the output linkages, it was found that the other services, rubber products and plastic wares, and financial services, respectively, were the first three sectors which provided the most contribution to the total output of Loei. Based on the
employment linkages, community and social services, agricultural services, and livestock contributed most to employment in Loei. The top three sectors which benefited most to Loei income were crops, food and beverages, and retail trade. The results also indicated that sectors most positively affect by the Loei government expenditure on the income side were transportation,
construction, and education, while, on the employment side, construction, transportation and health services were the biggest gainers.
Article Details
- The ideas and opinions expressed in MBA-KKU Journal are those of the authors and not necessarily those of the editor.
- Copyright on any open access article in a journal published by MBA-KKU Journal