การพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษาโดยกระบวนการสุนทรียสาธก : กรณีศึกษา โรงเรียน ABC อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

วิภาภรณ์ ด่านศิริ
ภิญโญ รัตนาพันธุ์

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้แนวคิดสุนทรียสาธกผสมผสานกับจิตวิทยาเชิงบวก ในการค้นหาปัจจัยในการพัฒนาองค์กรทางการศึกษา
และกระบวนการที่ดีที่สุดในการพัฒนาองค์กรทางการศึกษา ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นผลลัพธ์ของผู้เรียนเป็นที่ตั้ง โดยใช้กรณีศึกษาโรงเรียน ABC อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและมีการปฏิบัติควบคู่ไปกับการใช้แนวคิดสุนทรียสาธกในการค้นหาความประทับใจในการเรียนรู้ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างจากภายในองค์กรและภายนอกองค์กร จำนวน 86 คน และวิเคราะห์ข้อมูลจากบทสัมภาษณ์ในด้านประสบการณ์ความประทับใจในการเรียนรู้ ทั้งต่อผู้สอนและวิชาที่ทำให้เกิดความประทับใจด้วยการสะท้อนความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ดังกล่าว และนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ประยุกต์ร่วมกับทฤษฎีความสุข ทฤษฎีการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์หรือสัตว์ 4 ทิศ การเสนอแนะโดยใช้จิตวิทยาเชิงบวกเพื่อนำมาสร้างรูปแบบกระบวนการที่ดีที่สุดในการพัฒนาองค์กรทางการศึกษา ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาองค์กรทางการศึกษานั้น คือ ทรัพยากรบุคคล ซึ่งก็คือ ผู้สอน โดยเป็นเสมือนสื่อในการถ่ายทอดความรู้และสร้างการเรียนรู้ที่ดีที่สุด โดยผู้ศึกษาได้ออกแบบเป็น 2 โครงการ ได้แก่ โครงการสุนทรียสาธกรู้จักตัวตนเข้าใจผู้อื่น และโครงการเพราะชีวิตออกแบบได้ ซึ่งประกอบด้วย 6 กิจกรรม คือ กิจกรรมทานข้าวเช้ารู้จักกับสุนทรียสาธก วิเคราะห์ตัวตน กิจกรรมสัตว์ 4 ทิศ ปลูกเมล็ดพันธุ์เป้าหมายชีวิตสร้างสมดุลให้ความฝัน คาเฟ่แห่งความประทับใจและวิดีโอนำเสนอแด่ “ครูผู้ให้” จากการปฏิบัติ พบว่า กระบวนการหลักสำคัญในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษานั้น คือ การใช้จิตวิทยาเชิงบวกการสอนแนะผ่านการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสุขในกิจกรรมกลุ่มที่เน้นการมีส่วนร่วมในการค้นพบร่วมกันไปพร้อมกับอารมณ์เชิงบวกในการเรียนรู้

Abstract

This independent study aimed to apply Appreciative Inquiry Process and positive psychology to explore factors involved in developing educational
organizations and to find out the best educational personnel development process, which will produce more effective learner-centered education.
This qualitative study employed Appreciative Inquiry Process as key to explore students’ good impression of learning. Researcher interviewed and
analyzed 86 students, faculty members and administrators from ABC school. The interviews reflected the samples’ positive teacher-student experiences, classes and teaching process. Finally, the collected data were analyzed by applying positive psychology and theory of human behavior to find factors that affect human happiness, in order to suggest the best practice in developing educational institutes by using positive psychology theory. The results showed that the key factor to develop educational organization was human resource. Teachers were important intermediaries who deliver knowledge and learning experiences to students. Researcher designed two practical projects from data to provide incentive inspiration for teachers: “AI Training: knowing yourself to know others”, and “My life can be designed.” There were six activities within these two projects. The result from these activities showed the main effective process to develop educational personnel was “Coaching”, and crucial factors in developing human resources was positive psychology through Appreciative Inquiry Process - working in teams to discover positivity in learning processes.

Article Details

How to Cite
ด่านศิริ ว., & รัตนาพันธุ์ ภ. (2017). การพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษาโดยกระบวนการสุนทรียสาธก : กรณีศึกษา โรงเรียน ABC อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. MBA-KKU Journal, 9(2), 50–72. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/article/view/77622
Section
บทความวิจัย