การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมด้วยกระบวนการสุนทรียสาธก: กรณีศึกษาธนาคารกรุงไทย สำนักงานเขตขอนแก่น 2

Main Article Content

พรรษรัตน์ แก้วก่า
อัจฉริยะ อุปการกุล

Abstract

การศึกษาเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมด้วยกระบวนการสุนทรียสาธก: กรณีศึกษาธนาคารกรุงไทยสำนักงานเขตขอนแก่น 2 เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสู่ความสำเร็จของการทำงานเป็นทีม และการมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทาง และวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเป็นทีม โดยใช้ทฤษฎีสุนทรียสาธก เพื่อค้นหาเรื่องราวดีๆ จากประสบการณ์ของพนักงานเอง หรือที่ผู้อื่นบอกเล่า เพื่อหาจุดร่วม และจุดโดดเด่นของแต่ละบทสัมภาษณ์ นำข้อมูลที่ได้มาผ่านกระบวนการวิเคราะห์แบบจำลอง 4-D ผลการศึกษา พบว่า 1) การค้นพบค้นพบจุดร่วมที่สำคัญ คือ พนักงานกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นของตนอย่างเสรี เกิดความมั่นใจในสื่อสารร่วมกับทีมมากขึ้น เรียนรู้การเชื่อใจ และไว้วางใจกันในทีม และรู้สึกได้รับโอกาสในการทำงาน ค้นพบจุดโดดเด่นที่สำคัญ คือ ความประทับใจเชิงบวกที่มีบางคนกล่าวถึง และเราคิดว่าเป็นสิ่งที่ดี 2) การวาดฝัน พบว่า สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้ทีม นำไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน สามารถบรรลุเป้าหมาย KPI ของจำนวนลูกค้าเปิดบัญชีใหม่ของสาขาและสำนักงาน 3) การออกแบบ นำจุดร่วมและจุดโดดเด่นจากการค้นพบมาออกแบบกลยุทธ์ได้ 2 กลยุทธ์ 4 โครงการ ดังนี้ 1. กลยุทธ์สร้างบรรยากาศ และการมีส่วนร่วมในการทำงานเป็นทีม มี 2 โครงการ คือ โครงการเล่าสู่กันฟัง และโครงการดรีมทีม 2. กลยุทธ์มุ่งสู่ความสำเร็จร่วมกัน มี 2 โครงการ คือ โครงการพี่สอนน้อง และโครงการลงสนาม 4) การดำเนินการใช้ทฤษฏีการประเมินผล Kirkpatrick’s Model เป็นการประเมินการเรียนรู้และพฤติกรรมก่อน และหลังการทำโครงการ เชื่อมโยงกับแนวคิดเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ หลังการดำเนินงาน พบว่า พนักงานมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปมาร่วมทำกิจกรรมตอนเช้ากับสาขา รู้สึกมีความสุขในการทำงาน มีส่วนร่วมและได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง เมื่อเปรียบเทียบเป้าหมาย และผลจากการดำเนินงานจริง ในไตรมาสที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน) จำนวนลูกค้าเปิดบัญชีใหม่ พร้อมทำบัตรเอทีเอ็ม 8,363 บัญชี มีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 4,590 บัญชี เป็นร้อยละ 82 สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ และนโยบายขององค์กรที่มุ่งเน้นเพิ่มลูกค้ากลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ และรายย่อย ต่อยอดสู่โอกาสใหม่ทางธุรกิจ

Abstract

The purposes of this study were to study the key success factors and the participation of teamwork by applying Appreciation Inquiry to find positive experiences of employees. Data were collected from dialogues through the 4-D model and analysis process, and the results were as the following; 1) Discovery: found common aim on key employees dare to express their opinion freely, confide to communicate with team, learn to trust, have chance to challenge, and find out the outstanding which were positive impressing. 2) Dream: ability to increase team performance that leads to mutual success and KPI targets as per the number of customers opening new accounts at branches. 3) Design: common aim and outstanding from discovery led to two strategies with 4 projects as following: 1.The strategy of creating a happy work place and team participation consisted of 1) Morning talk project 2) Dream team project. And 2. The strategies towards mutual success consisted of 2 projects; 1) Coaching project 2) Practice project. 4) Destiny: Applying theory of evaluation Kirkpatrick’s Model to evaluate learning and behavior change before and after the project, and link to the concept of teamwork efficiency, it was found that employees’ behavior changed after joining morning activity. They were happy at work, accepted from coworkers, and practical learning. And the Key Performance Indicator (KPI) of the second quarter (April-June) the number of customers opening new accounts, with ATM cards at branch reached 8,363 accounts, from expected target 4,590 accounts, actual increased 82%. The great results related with strategies and policies that focused on increasing large and small business
customers to expand into new business opportunities.

Article Details

How to Cite
แก้วก่า พ., & อุปการกุล อ. (2017). การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมด้วยกระบวนการสุนทรียสาธก: กรณีศึกษาธนาคารกรุงไทย สำนักงานเขตขอนแก่น 2. MBA-KKU Journal, 9(2), 73–96. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/article/view/77623
Section
บทความวิจัย