อิทธิพลทางบุคลิกภาพตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า: กรณีศึกษา แบรนด์ปาปาดา จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างทางลักษณะด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อการรับรู้บุคลิกภาพตราสินค้า และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางบุคลิกภาพตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า กรณีศึกษาแบรนด์ปาปาดา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น สำรวจโดยใช้แบบสอบถามจากผู้บริโภคที่เข้ามาซื้อสินค้าร้านปาปาดา จำนวน 400 คน เลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ไคสแควร์ เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม โดยใช้ T-test ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกันและมากกว่า 2 กลุ่ม ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษา พบว่า ลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับบุคลิกภาพตราสินค้า ได้แก่ เพศ อาชีพ มีความสัมพันธ์กับบุคลิกภาพทั้ง 5 มิติ คือ บุคลิกภาพแบบแบบจริงใจ บุคลิกภาพแบบน่าตื่นเต้น บุคลิกภาพแบบมีความสามารถ บุคลิกภาพแบบหรูหรา และบุคลิกภาพแบบเข้มแข็ง รายได้ต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับบุคลิกภาพ คือ บุคลิกภาพแบบแบบจริงใจ บุคลิกภาพแบบน่าตื่นเต้น ส่วนจำนวนสมาชิกในครัวเรือน และอายุ ไม่มีความสัมพันธ์
กับบุคลิกภาพตราสินค้า ผลการศึกษาความสัมพันธ์ทางบุคลิกภาพตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า พบว่า บุคลิกภาพแบบน่าตื่นเต้น บุคลิกภาพแบบมีความสามารถ และบุคลิกภาพแบบหรูหรา มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแบรนด์ปาปาดาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนบุคลิกภาพแบบจริงใจและบุคลิกภาพแบบเข้มแข็งไม่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแบรนด์ปาปาดา
Abstract
This study aimed to explore the difference in demographic characteristics that affect brand personality perceptions, and to examine the relationship between brand personalities and customer’s buying decision of Papada brand in Mueang District, Khon Kaen Province. Questionnaire was used to collect data from 400 simple random sampling customers. Percentage, mean, and standard deviation were applied for descriptive analysis. The inferential statistics, Chi-square, including the relationship testing was performed to test the difference between the two groups of samples by using T-test. The samples were independent and more than two groups were used one way analysis of variance. The findings showed that gender and occupation were significantly related to five dimensions including sincerity, excitement, competence, sophistication, and ruggedness. Monthly income was significantly related to sincerity and excitement, while the number of household members, and age weren’t related to brand personalities. According to customer’s buying decision, brand personalities of excitement, competence, and sophistication were significantly related to buying decision of Papada brand at 0.05 levels. However, sincerity and ruggedness weren’t related to buying decision of the brand.
Article Details
- The ideas and opinions expressed in MBA-KKU Journal are those of the authors and not necessarily those of the editor.
- Copyright on any open access article in a journal published by MBA-KKU Journal