ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่ม Gen Y

Main Article Content

อัจจิมา บำเพ็ญบุญ
พุฒิธร จิรายุส

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของพนักงานกลุ่ม Gen Y โดยกลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานเอกชนและรัฐบาลในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีสถานภาพโสด มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีรายได้ 10,001-20,000 บาท และมีประสบการณ์ในการทำงาน 2-5 ปี โดยปัจจัยที่ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในระดับมาก คือ ปัจจัยวัฒนธรรมและบรรยากาศในการทำงาน และปัจจัยโอกาสความก้าวหน้า ขณะที่ปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ ค่าตอบแทน สวัสดิการและผลประโยชน์ ความสมดุลชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัว โอกาสเลื่อนตำแหน่ง และความสำเร็จในอาชีพ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง และจากการทดสอบสมมติฐานด้วยค่า One-way ANOVA และค่า t-test พบว่า เพศที่ต่างกันไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่ม Gen Y แต่สถานภาพการศึกษา รายได้ และประสบการณ์ทำงานที่ต่างกันมีความความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่ม Gen Y ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ส่วนผลการทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสหสัมพันธ์ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 พบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติติงานของพนักงานกลุ่ม Gen Y มากที่สุด คือ ปัจจัยโอกาสความก้าวหน้าซึ่งมีความสัมพันธ์ในระดับสูง และปัจจัยที่สัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติติงานของพนักงานกลุ่ม Gen Y น้อยที่สุด คือ ปัจจัยความสมดุลในชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัวซึ่งมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง

Abstract

The objectives of this research was to study the factors affecting Gen Y’s job satisfaction. The sample group was 400 employee from
private and government sectors. The research used questionnaires for data collecting. The result showed that major responders were females, single status, bachelor degree educational level, with monthly income between 10,001 - 20,000 baht, and 2-5 years work experience. The factors affecting job satisfaction in high level were Cultural and Environmental Working factor and Advance Opportunity factor. While the other factors affecting job satisfaction in average level were Income, Benefits, Work Life Balance, Promoting, and Achievement. The Hypothesis testing with One-way ANOVA and t-test showed that different gender did not correlate with job satisfaction to Gen Y, but different status, educational level, income and working experience correlated with job satisfaction to Gen Y at significant implication level of 0.05 The Hypothesis testing with correlation at significant implication level of 0.01 showed that the factor which correlated with job satisfaction to Gen Y the most was Advance Opportunity factor in high level correlation and the least was Work Life Balance factor in average level correlation.

Article Details

Section
บทความวิจัย