กลยุทธ์การตลาดบริการของบริษัทศรีอรุณการยาง จำกัด จังหวัดยโสธร

Main Article Content

พิมพ์มาดา จึงเรืองสิทธิ์
อารมย์ ตัตตะวะศาสตร์
ศักดิ์ชัย เจริญศิริพรกุล

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมและระดับความพึงพอใจของลูกค้า ระดับความพึงพอใจของพนักงานต่อการปฏิบัติงานและสวัสดิการของบริษัทและกำหนดกลยุทธ์การตลาดบริการของบริษัท ศรีอรุณการยาง จำกัด ทำการศึกษา โดยใช้แบบสอบถามในการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างลูกค้า 400 ราย และพนักงานทั้งหมดของบริษัทซึ่งมีจำนวน 27 คน จากนั้นนำผลที่ได้จากการสำรวจร่วมกับผลการศึกษาข้อมูลจากเอกสารในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของธุรกิจ และกำหนดกลยุทธ์การตลาดบริการ ผลการศึกษา พบว่า ลูกค้าที่ใช้บริการกลุ่มที่มีมากที่สุด เป็นเพศชาย ช่วงอายุ 31 - 40 ปี สถานภาพสมรส อาชีพข้าราชการ การศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 10,001 - 20,000 บาท เคยซื้อสินค้าและบริการมากกว่า 2 ครั้ง ผู้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกศูนย์บริการซ่อมบำรุงรถยนต์ คือ ตนเอง เหตุผลที่เลือกใช้บริการ คือ ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของร้าน ลูกค้ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทั้งหมด 22 ข้อ และระดับมาก 10 ข้อ ในขณะที่พบว่า พนักงานมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด 24 ข้อ ระดับมาก 14 ข้อ และระดับปานกลาง 2 ข้อ หลังจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจสามารถกำหนดกลยุทธ์การตลาดบริการภายใต้กรอบแนวคิดสามเหลี่ยมการบริการ โดยได้แผนปฏิบัติงาน 3 โครงการ ประกอบด้วยโครงการ “โฆษณาประชาสัมพันธ์” โครงการ “สานสัมพันธ์ศรีอรุณ” และ โครงการ “ยกระดับคุณภาพการให้บริการ”

Abstract

This study aimed to study behavior and satisfaction level of customer, satisfaction level of employees on performance and benefits, and to establish service marketing strategy for Sriaroonkarnyang Company. Questionnaire surveys on 400 sample customers and all company employees were conducted. Results from surveys, together with data from documentary research, were used in the business environment analysis. Consecutively, service marketing strategy was constructed. Customer survey identified that the largest group of customer were male; age 31 - 40 year, work as government officers, hold bachelor’s degree, with average monthly income of 10,001-20,000 baht. They used to buy from the company more than twice, buying influencer was themselves, and company reputation and reliability were the most significant influencing buying factors. Customers were on highly satisfy level in 22 items and on satisfy level in 10 items. From the employee survey, employees were on highly satisfy level in 24 items, satisfy level in 14 items, and moderate level in 2 items. After the business environment analyzed, the company’s service marketing strategy was established. Under the ‘Service Triangle Model three programs were proposed which were “Public Relation”
Project, “Sriaroon Relationship” Project, and “Service Quality Upgrade” Project.

Article Details

Section
บทความวิจัย