การศึกษาประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของสรรพากรรายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยแบบจำลองการวิเคราะห์ประสิทธิภาพเปรียบเทียบภายในกลุ่ม

Main Article Content

อัจฉราภรณ์ สอนพรม
จินตนา สมสวัสดิ์

Abstract

การศึกษาประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของสรรพากรรายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยแบบจำลองการวิเคราะห์ประสิทธิภาพเปรียบเทียบ
ภายในกลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดประสิทธิภาพด้านการจัดเก็บภาษีอากรของสรรพากร เสนอแนะแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีอากรของสรรพากรรายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบบจำลองที่ใช้ในการศึกษา คือ การวิเคราะห์ประสิทธิภาพเปรียบเทียบภายในกลุ่มหรือ DEA ซึ่งตัวแปรผลผลิต ได้แก่ รายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรของสรรพากรรายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกำหนดให้งบประมาณรายจ่ายประจำปี ได้แก่ งบบุคลากร งบดำเนินงาน และงบลงทุนเป็นตัวแปรปัจจัยการผลิตที่จะวัดประสิทธิภาพ ผลการศึกษา พบว่า ประสิทธิภาพด้านการจัดเก็บภาษีอากรของสรรพากรรายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลี่ยรวมทั้งหมดเท่ากับ 0.886 มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับสูง ค่าประสิทธิภาพทางด้านการจัดเก็บภาษีอากรเท่ากับ 1 มีจำนวน 15 จังหวัด และมี 5 จังหวัดที่มีค่าประสิทธิภาพด้านการจัดเก็บภาษีอากรน้อยกว่า 1 ซึ่งสาเหตุเกิดจากการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีมากเกินไป ซึ่งมีวิธีปรับปรุงประสิทธิภาพของกลุ่มจังหวัดที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่า 1 คือ การลดงบประมาณรายจ่ายประจำปีในการจัดเก็บภาษีอากร โดยการเปรียบเทียบงบประมาณรายจ่ายประจำปี ในการจัดเก็บภาษีอากรจากกลุ่มจังหวัดที่มีรายได้จากการจัดเก็บภาษีใกล้เคียงกันแต่มีประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีอากรเท่ากับ 1 หรือมีประสิทธิภาพเต็มที่

Abstract

The purpose of this research were to evaluate the way to call tax from civil of Revenue Department in the North-Eastern part of Thailand and to suggest better way of calling tax by using Data Envelopment Analysis (DEA) to analyze information which had income of tax calling from revenue department in North-Eastern and the Annual Expenditure Budget (staff budget part, process budget part, and investment budget part). The result from the research showed that the average of calling tax from civil of North-Eastern was 0.886 and it was at high effective level too. Furthermore, there were 15 provinces which were equal 1 and there were 5 provinces which was not equal 1 in tax calling. The cause of unequal problem came from over using Annual Expenditure Budget so, the suggestion to improve unequal 1’s provinces was to decrease using Annual Expenditure Budget by comparing Annual Expenditure Budget with nearby provinces which showed equal 1 when compared with the best effective provinces.

Article Details

Section
บทความวิจัย