ความสัมพันธ์ระหว่างสวัสดิการการทำงานและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อสวัสดิการและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน เปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อสวัสดิการการทำงานและประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสวัสดิการและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์จ????ำนวน 169 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์โดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า สวัสดิการการทำงานของพนักงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านส่วนบุคคล รองลงมาคือ ด้านผลการปฏิบัติงาน ประสิทธิภาพการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านส่วนบุคคล รองลงมาคือ ด้านผลการปฏิบัติงาน สวัสดิการการทำงานของพนักงานที่มีเพศและวุฒิการศึกษาต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนความคิดเห็นของพนักงานที่มีประสบการณ์ต่างกัน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานที่มี เพศ วุฒิการศึกษาและประสบการณ์ต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน สวัสดิการการทำงานมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความสัมพันธ์โดยรวมทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง
Abstract
This research aimed to study and compare staffs’ opinion towards welfare and performance in order to study relationship between work welfare and performance of Government Housing Bank employee in Northeastern. The data were collected from 169 samples by using questionnaire, and analyzed by percentage, average, standard deviation, T, F, coefficient and SPSS. The research found that welfare of staffs was at high level. The highest was personal aspect, and performance respectively. The welfare of employees of different sexes and educational backgrounds were, over all, not different. The opinions of different experienced employees were different with statistically significant at 0.1. Performance of employees with different gender, education and experience were not different. Workplace welfare was correlated with the employee’s performance efficiency with statistically significant at 01 level, and the overall positive correlation was at a moderate level.
Article Details
- The ideas and opinions expressed in MBA-KKU Journal are those of the authors and not necessarily those of the editor.
- Copyright on any open access article in a journal published by MBA-KKU Journal