การวางแผนกลยุทธ์การตลาดเพื่อเพิ่มยอดการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

วัชพล เหล่าพล
ชัญญา อภิปาลกุล

Abstract

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพฤติกรรมและส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาเชียงยืน รวมทั้งวางแผนกลยุทธ์การตลาดเพื่อเพิ่มยอดการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรอีกร้อยละ 10 จากปี 2556 โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่มีบัตรสินเชื่อเกษตรกรจำนวน 98 คน ผลการศึกษาพบว่า ลูกค้าใช้บัตรในการรูดซื้อปัจจัยการผลิตประเภทปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช และน้ำมัน จากร้านค้าที่มีสินค้าหลากหลายประเภท สำหรับส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อมากที่สุดคือ ด้านราคา ทำให้สามารถวางแผนกลยุทธ์ได้ 4 โครงการ ได้แก่ 1) ชุมชนสัมพันธ์ 2) ร้านค้าราคาเป็นธรรม 3) เพิ่มใจให้เงิน และ 4) เพิ่มประสิทธิภาพการบริการ เพื่อเพิ่มยอดการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรให้บรรลุตามเป้าหมายที่ธนาคารกำหนด

Abstract
This study aimed to study behavior and marketing mix that affected Farmer’s credit card using of Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives, Chiang Yuen Branch, and set marketing strategic plans to increase outstanding balances of agricultural credit cards by 10% from the 2013 figure. Questionnaire was used to collect data from 98 samples that had Farmer’s credit cards. The results revealed that most customers used the card at the shops with various products to purchase agricultural production factors; chemical fertilizer, herbicide, and oil. Among the marketing mix, price was the most significant effect on purchasing decision. Strategic plans were established as follows; 1) Community relations, 2) Fair-price shop, 3) Add credit limit, and 4) Increase service performance to increase farmer’s credit card usage to achieve the bank target.

Article Details

How to Cite
เหล่าพล ว., & อภิปาลกุล ช. (2017). การวางแผนกลยุทธ์การตลาดเพื่อเพิ่มยอดการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. MBA-KKU Journal, 10(1), 121–139. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/article/view/89176
Section
บทความวิจัย