แนวทางในการปรับปรุงธุรกิจเบาะรถยนต์ของร้านพัฒนาเบาะในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา

Main Article Content

นิศารัตน์ วีระแพทย์
อัมพน ห่อนาค

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดตามความต้องการของลูกค้าผู้ใช้บริการทำและซ่อมแซมเบาะและกำหนดแนวทางในการปรับปรุงการให้บริการของร้านพัฒนาเบาะในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ที่มาใช้บริการร้านทำเบาะรถยนต์ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา จำนวน 400 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่ผู้ที่มาใช้บริการร้านทำเบาะรถยนต์ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา ร้อยละ 59.20 มาใช้บริการเปลี่ยนผ้าเบาะรถยนต์ โดยร้อยละ 85.20 มีร้านประจำที่ใช้บริการอยู่แล้ว โดยมีเหตุผลว่า เพราะงานดีมีคุณภาพและร้อยละ 32.50 รู้จักร้านทำเบาะรถยนต์ จากการได้ยินปากต่อปาก สำหรับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความต้องการใช้บริการร้านทำเบาะรถยนต์ พบว่า ปัจจัยที่มีความต้องการในระดับมากที่สุด ได้แก่ ต้องการช่างที่มีความชำนาญมีความสามารถให้คำแนะนำเรื่องเบาะรถยนต์ได้อย่างดี (ค่าเฉลี่ย 4.64) ร้านตั้งอยู่ติดถนนการคมนาคมสะดวก (ค่าเฉลี่ย 4.66) เครื่องมือที่ใช้มีความทันสมัย (ค่าเฉลี่ย 4.62) และต้องการพนักงานมีความรู้ เกี่ยวกับผ้าเบาะรถยนต์เป็นอย่างดี (ค่าเฉลี่ย 4.70) ดังนั้น จึงได้กำหนดแนวทางในการปรับปรุงร้านพัฒนาเบาะ โดยการจัดทำเป็นโครงการต่างๆ ดังนี้ โครงการที่ 1 โครงการจัดทำป้ายชื่อร้าน โครงการที่ 2 รับสมัครช่างผู้ชำนาญการ โครงการที่ 3 การโฆษณาสร้างชื่อเสียงร้านพัฒนาเบาะ โครงการที่ 4 จัดทำชั้นวางสินค้าเพิ่มและซ่อมแซมชั้นวางเดิม

Abstract
The objectives of this study were to study customers’ behavior and marketing mix factors to meet specific need or demand of the customer, and to specify the guidelines in order to develop the service of Pattana Bour in Nakhon Ratchasima. Data were collected from 400 customers, and analyzed by descriptive analysis. The result showed that there were 59.20 percent used car seat fabric changing service, 85.20 percent always used the same service by giving the reason that they trusted on the quality of materials and effective performance, and 32.50 percent heard of the shop reputation from other customers. In the part of marketing mixed found most influencing factors were as follows; skilled and experienced technicians who can give good advice about the car seat (4.64), convenience location (4.66), modern tools or new technology (4.62), and lastly staff with skills and knowledge about products and services (4.70). Therefore, guidelines for the development were specified with four projects; 1.Making a new sign and banner for the store, 2. Recruiting qualified technicians, 3. Advertising the service and product in order to build reputation of the shop, and 4. Providing more products shelves and repair the old ones.

Article Details

How to Cite
วีระแพทย์ น., & ห่อนาค อ. (2017). แนวทางในการปรับปรุงธุรกิจเบาะรถยนต์ของร้านพัฒนาเบาะในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา. MBA-KKU Journal, 10(1), 163–178. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/article/view/89180
Section
บทความวิจัย