คุณลักษณะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึ่งประสงค์ ตามทัศนะของบุคลากรสภากาชาดไทย

ผู้แต่ง

  • เอกภพ เหล่าบุญล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • สุกิจ ชัยมุสิก

คำสำคัญ:

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์, สภากาชาดไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง”คุณลักษณะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึ่งประสงค์ตามทัศนะของบุคลากรสภากาชาดไทย”มีวัตถุประสงค์คือ 1.เพื่อศึกษาคุณลักษณะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามทัศนคติของบุคลากรสภากาชาดไทย 2.เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงประสงค์ตามทัศนะของบุคลากร สภากาชาดไทย ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ต่างกัน 3.เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงประสงค์ตามทัศนะของบุคลากร สภากาชาดไทย ประชากรคือบุคลากรสภากาชาดไทย จำนวน 460 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการคำนวณตามสูตรของทาโรยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง 214 คนโดยใช้เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม แจกโดยไม่เจาะจง จนครบตามจำนวนและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดย (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (X) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (StandardDeviation) การทดสอบค่าที  (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างจะทำการทดสอบรายคู่ด้วย Scheffe

ผลการวิจัยพบว่า

          คุณลักษณะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงประสงค์ตามทัศนะของบุคลากรสภากาชาดไทย โดยรวมทั้ง 3 ด้าน มีค่าแปลผลอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากสุดไปน้อยสุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากสุด คือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม มีค่าแปลผลอยู่ในระดับมากรองลงมาด้านความรู้ความสามารถ มีค่าแปลผลอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านวิสัยทัศน์ มีค่าแปลผลอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ

          บุคลากรของสภากาชาดไทย ที่มีเพศ ระดับการศึกษาต่างกัน มีคุณลักษณะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงประสงค์ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนนอกนั้นไม่พบความแตกต่าง

ข้อเสนอแนะที่มีผูเสนอมากที่สุดในแต่ละด้าน ดังนี้

          1 ด้านวิสัยทัศน์ มีค่าเฉลี่ยที่ 3.95 ที่ค่าแปลผลอยู่ในระดับมาก ในส่วนข้อเป็นผู้คิดดสร้างเครือข่าย เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ เป็นข้อที่มีการเลือกมากที่สุด

          2 ด้านคุณธรรมจริยธรรม มีค่าเฉลี่ยที่ 4.18 ที่ค่าแปลผลอยู่ในระดับมาก ในส่วนข้อมีการเสียสละในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาของประชาชน เป็นข้อที่มีการเลือกมากที่สุด

          3 ด้านความรู้ความสามารถ มีค่าเฉลี่ยที่ 4.14 ที่ค่าแปลผลอยู่ในระดับมาก ในส่วนข้อมีศักยภาพปกครองในเชิงรุก เป็นข้อที่มีการเลือกมากที่สุด

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2543) ปราชญสังคม : สังคมไทยที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 บริษัทซัคเซส มีเดีย
สมหวัง พึธิยานุวัฒน์ (2543) วิธีวิทยาการประเมินทางการศึกษา. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มัณฑนา สังขะกฤษณ์ (2551) การจัดการศึกษาภาคบังคับให้มีคุณภาพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-25