รูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพุทธธรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • ชัยยา พันธ์เพชร -
  • พระมหาไกรวรรณ์ ชินทตฺติโย (ปุณขันธ์), ดร

คำสำคัญ:

การบริหารตามหลักพุทธธรรม; ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน; โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (๑) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพุทธธรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (๒) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพุทธธรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (๓) เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพุทธธรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods  Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน ๒๒๖ โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้างานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครู รวม ๖๗๘ คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า ๕ ระดับ ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง ๐.๖-๑.๐ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง ๐.๓๐๒-๐.๘๓๕ และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๙๘ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชิงเส้นและวิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า ๑) ผลการศึกษาองค์ประกอบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพุทธธรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร ตำรา ที่เกี่ยวกับงานวิชาการ สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ได้ร่างองค์ประกอบ จำนวน ๑๒ องค์ประกอบ และ ๙๐ ตัวแปร ๒) ผลการสร้างรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพุทธธรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา จากการวิเคราะห์หา ความสัมพันธ์เชิงเส้น พบว่า องค์ประกอบที่มีค่าอิทธิพลมากที่สุดคือ ด้านการมีส่วนร่วม เท่ากับ ๐.๔๖ ด้านนโยบาย เท่ากับ ๐.๓๒ และด้านการจัดการและพัฒนานักเรียน เท่ากับ ๐.๒๕ มีค่าสถิติทาง  Chi-square = .724, df = 1, p-value = .395, c2/df = 1, GFI = 1.000, AGFI = .985, CFI = 1.000, RMR = .000, RMSEA = .000 แสดงได้ว่าพหุตัวแปรมีความสัมพันธ์กันและมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ ๓) ผลการประเมินและรับรองรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า เป็นรูปแบบที่มีองค์ประกอบหลักที่สำคัญ ๔ องค์ประกอบ ซึ่งมีความเหมาะสม ถูกต้อง เป็นไปได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งสอดคล้องกับกรอบแนวคิดทฤษฎีของการวิจัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29