การพัฒนาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางฟิสิกส์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • ปวีณา ยกพล -
  • ดร.นิวัฒน์ บุญสม

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ, ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางฟิสิกส์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนแนวตรง ของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางฟิสิกส์ของนักเรียนที่ใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ และ   3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดนางสาว (ถาวรราษฎร์บำรุง) อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ 2) แบบประเมินความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางฟิสิกส์ 3) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนแนวตรง ของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ มีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ .05 2) ผลการศึกษาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางฟิสิกส์ของนักเรียนที่ใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ นักเรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางฟิสิกส์ อยู่ในระดับดี และ 3) ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิต

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช

(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมวิชาการ. (2554). เอกสารชุดเทคนิคการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด “การบูรณาการ.”

กรุงเทพฯ : ศูนย์พัฒนาหลักสูตร.

ฉันชัย จันทะเสน. (2560). “การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมี

วิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย” วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 23, 1 (กรกฎาคม) : 55.

นิวัฒน์ บุญสม. (2556). “การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดของกระบวนการแก้ปัญหาอย่าง สร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมด้านสุขภาพของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์.” วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล (2562). “การพัฒนาทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม” บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมพร ปานดำ. (2563). ยุทธศาสตร์การผลิตกำลังคนอาชีวศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเภท

อุตสาหกรรมรองรับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ปีที่ 33 ฉบับที่ 116 ตุลาคม-ธันวาคม 2563, 22-28.

สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้

แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น

พื้นฐาน 2551 (ฉบับปรับปรุง2560). กรุงเทพฯ : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เอกมร คงตางาม. (2553). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักสาราณียธรรมของ

องค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29