พรหมวิหารธรรม:หลักธรรมในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง

ผู้แต่ง

  • สุณี เวชประสิทธิ์ -
  • ดวงกมล สุขทองสา
  • แน่งน้อย สมเจริญ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำเสนอหลักธรรมในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองโดยการประยุกต์หลักพรหมวิหาร 4 ในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง โดยการรักษามุ่งเน้นไปที่การรักษาความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานแบบองค์รวม พร้อมสนับสนุนผู้ป่วยแบบประคับประคองด้วยทัศนคติเชิงบวกในช่วงสุดท้ายของชีวิต ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลควรน้อมนำหลักธรรมพรหมวิหารธรรมมาใช้ในการปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจ มีน้ำใจ เห็นอกเห็นใจ มีความเอื้ออาทร และไม่เลือกปฏิบัติในการดูแลผู้รับบริการ เช่น ผู้ป่วยและญาติ โดยตระหนักถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเคารพคุณค่าของชีวิต ขณะเดียวกันก็ปฏิบัติการพยาบาลด้วยความเมตตา กรุณาอันละเอียดอ่อน และช่วยเหลือประคับประคองทั้งผู้ป่วยและญาติ ด้วยเหตุนี้ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจเหล่านี้จะสนับสนุนให้พยาบาลมีความเข้าใจต่อธรรมชาติของชีวิตและตระหนักถึงคุณค่าในวิชาชีพการพยาบาลที่ประกอบด้วยคุณธรรม จริยธรรม และจิตสำนึกในการเห็นคุณค่าของวิชาชีพ ที่อยู่บนพื้นฐานของความมีเมตตา กรุณา อันเป็นผลให้พยาบาลสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้จากไปได้อย่างสงบ

References

บรรณานุกรม

กิตติกร นิลมานัต.(2555).การดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต.สงขลา: ออเรนจ์มีเดีย.

ทัศนีย์ ทองประทีป และคณะ.(2545). พุทธธรรมเพื่อการพยาบาล. กรุงเทพฯ: บริษัทเอกพิมพ์ไทย.

ทัศนีย์ ทองประทีป และคณะ.(2549). พยาบาล:เพื่อนร่วมทุกข์ผู้ป่วยระยะสุดท้าย. กรุงเทพฯ: บริษัทเอกพิมพ์

ไทย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ ปยุตโต). (2543). พจนานุกรรมพุทธศาสนา: ฉบับประมวลธรรม: (Dictionary of Buddhism). (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระไพศาล วิสาโล.(2549). เหนือความตายจากวิกฤตสู่โอกาส.กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามลดา.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ ปยุตโต). (2559).พจนานุกรรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม.(พิมพ์ครั้งที่

. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต).พุทธธรรมฉบับปรับขยาย.(2559). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29