พุทธวิธีในการใช้สื่อธรรมชาติกับการบรรลุธรรม

ผู้แต่ง

  • พระมหาฤทธิิรงค์ กิิตฺฺติิรงฺฺโค (เสนาน้้อย) Mahamakut Buddhist university

คำสำคัญ:

สื่อธรรมชาติ, พุทธวิธี, การบรรลุธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความหมายและความสำคัญของสื่อธรรมชาติ 2) เพื่อศึกษาพุทธวิธีในการใช้สื่อธรรมชาติ 3) เพื่อวิเคราะห์การบรรลุธรรมจากพุทธวิธีการใช้สื่อธรรมชาติ บทความนี้เป็นงานวิจัยเชิงเอกสารซึ่งได้รวบรวมจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อหาความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อธรรมชาติเป็นธรรมธาตุ คือ ภาวะที่ทรงตัวอยู่โดยธรรมดา มีการแปรปรวนอยู่รอบตัวมนุษย์และในตัวมนุษย์ ทุกหนทุกแห่งเต็มไปด้วยธรรมชาติ ไม่มีที่ใดว่างจากธรรมชาติ การประยุกต์ใช้สิ่งไกล้ตัวเป็นสื่อเพื่อให้ได้เรียนรู้และเข้าใจในหลักธรรมง่ายขึ้นจึงมีความสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ 2) พุทธวิธีการใช้สื่อธรรมชาติ เป็นอุปกรณ์ประกอบการสอนที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล และอุปกรณ์นั้นไม่ต้องลงทุนทำขึ้นใหม่ เพราะเป็นของที่มีอยู่แล้วทั่วทุกหนทุกแห่งตามธรรมชาติ นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังทรงเลือกใช้ในลักษณะของสื่อธรรมชาติเพื่อให้ได้ประโยชน์มากที่สุดโดยคำนึงถึงประเภทของผู้เรียนหรือผู้ฟังเป็นสำคัญ 3) วิเคราะห์การบรรลุธรรม เป็นความสำเร็จหรือการบรรลุจุดหมายในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่การเข้าใจธรรมในระดับต้น ๆ คือ ระดับโลกิยะ จนถึงการเข้าใจธรรมในระดับมรรคผล คือ ระดับโลกุตตระ พระพุทธองค์ทรงใช้สื่อธรรมชาติในกระบวนการฝึกและพัฒนามนุษย์เพื่อการบรรลุสัจธรรมในระดับต่าง ๆ

References

ธรรมประทีป. (2533). ชีวิตกับการแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สหมิตร. 9.

แสง จันทร์งาม. (2526). วิธีสอนของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพฯ : บรรณาคาร. 22-24.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), (พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 14). (2551). กรุงเทพฯ : เอส.อาร์ พริ๊นติ้ง แมส โปรดักส์. 222.

พระบุญโชค ชยธมฺโม (ส่งแสง). ศึกษารูปแบบและวิธีการเทศนาของพระสงฆ์ไทยในปัจจุบัน. (2548). วิทยานิพนธ์ปริญญาธรรมนิเทศมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 87.

คณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาจิต สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย. มิติใหม่ของการพัฒนาจิต. (2528). กรุงเทพฯ : ประเทืองวิทย์. 65–66.

สุภีร์ ทุมทอง. (2559). เริ่มต้นสัมมาทิฏฐิ. นนทบุรี : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์. 4.

ศจ.เกียรติคุณ แสง จันทร์งามและคณะ, “ศาสนศาสตร์”. (2542). กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. 44.

พระไพศาล วิสาโล. ทางธรรม พุทธศาสนากลางกระแสโลกาภิวัฒน์. กรุงเทพฯ : โพสต์บุ๊กส์, 2555

พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). การเผยแผ่เชิงรุก. กรุงเทพฯ : , มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2548

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29