โมเดลปัจจัยเชิงเหตุของคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการทหาร1 Antecedent model of quality of work-life of the Royal Thai Army Forces.
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ข้าราชการทหารเป็นกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ คุณภาพชีวิตในการทำงานบุคลากรกลุ่มนี้จึงความสำคัญต่อผลการปฏิบัติงาน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยความสัมพันธ์เปรียบเทียบที่มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาโมเดลปัจจัยเชิงเหตุของคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการทหาร กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการ สังกัดกองทัพไทย ทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Quota Random Sampling) รวมทั้งสิ้น 404 คน โดยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 40 ปี และทำงานมานานเฉลี่ย 17.5 ปี
ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) คุณภาพชีวิตในการทำงาน ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ ทัศนคติที่ดีต่องาน และ ความเครียดในการทำงาน โดยมีทัศนคติที่ดีเป็นองค์ประกอบหลัก 2) สถานการณ์ในการทำงาน ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ การสนับสนุนจากหัวหน้า และการสนับสนุนจากองค์การ โดยมีการสนับสนุนจากองค์การเป็นองค์ประกอบหลัก และ 3) จิตลักษณะ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การประเมินแก่นแห่งตน ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และจิตพอเพียง โดยมีลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนเป็นองค์ประกอบหลัก
โมเดลปัจจัยเชิงเหตุปรากฏว่า 1) คุณภาพชีวิตในการทำงาน ได้รับอิทธิพลทางตรงจาก จิตลักษณะ และสถานการณ์ ซึ่งสามารถทำนายคุณภาพชีวิตในการทำงานได้ 0.99 2) สถานการณ์ ได้รับอิทธิพลทางตรงจากจิตลักษณะ ซึ่งสามารถทำนายสถานการณ์ได้ 0.233 และ 3) จิตลักษณะมีอิทธิพลทางอ้อมต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน โดยผ่านสถานการณ์
จากผลการวิจัยนี้ทำให้เห็นว่า 1) ทัศนคติที่ดีต่องานเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของคุณภาพชีวิตในการทำงานของทหารไทย มากกว่าความเครียดในการทำงาน 2) การดูแลสนับสนุนส่งเสริมของหน่วยงาน เป็นสถานการณ์ที่สำคัญต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของทหารไทย 3) การมีลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนมากมีอิทธิพลทั้งต่อสถานการณ์และคุณภาพชีวิตในการทำงานของทหารไทย 4) จิตพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญค่อนข้างสูงต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของทหารไทย
ข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของทหารไทย ได้แก่ 1) การพัฒนาจิตลักษณะที่สำคัญ 3 ประการตามลำดับ คือ ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน การประเมินแก่นแห่งตน และจิตพอเพียง ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดี และ 2) กองทัพต้องให้ความสำคัญในการดูแล เอาใจใส่ความเป็นอยู่ ยกย่องเชิดชูให้เกิดขวัญกำลังใจ ซึ่งจะทำให้ข้าราชการทหารมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน และมีความเครียดในการทำงานน้อย
คำสำคัญ: โมเดลปัจจัยเชิงเหตุ, คุณภาพชีวิตในการทำงาน, ข้าราชการทหาร
Abstract
The Royal Thai Army Forces are one of the important human resource groups affecting national security. Quality of work-life of these personnel is important to their work effectiveness. This correlational-comparative study aimed at investigating antecedent model of quality of work-life of the Royal Thai Army Forces. Samples are The Thai Royal Army Forces in headquarter and other provinces. Purposive quota random sampling was employed to obtain the total sample of 404 personnel. Most of them were male with the average age of 40 years, and the average duration in duty of 17.5 years.
The results revealed that 1) quality of work-life consisted of 2 factors, namely, favorable attitude towards work, and job stress. Favorable attitude towards work was the most important factor. 2) situation consisted of 2 factors, namely, supervisory social support, and organizational support. The most important factor was organizational support. 3) psychological trait consisted of 3 factors, namely, future orientation and self-control, core self-evaluation, and psychological sufficiency. It was found that future orientation and self-control was the most important factor.
For structural model, it was found that 1) quality of work-life was directly affected by psychological trait and situation, which, totally, could explain the variance of quality of work-life with 0.99. 2) situation was directly affected by psychological trait, with the predictive of 0.23. 3) psychological trait indirectly affected quality of work-life via situation.
The findings from this study suggested that 1) favorable attitude towards work was more important factor of quality of work-life than job stress. 2) perceived caring, recognizing, and supporting from organization was the important situational type affecting quality of work-life. 3) Future orientation and self-control was the most important factor affecting both situation and quality of work-life. 4) Psychological sufficiency based on The Philosophy of Sufficiency Economy was also important to quality of work-life.
Suggestions based on this study were 1) in order to enhance quality of work-life for these personnel, 3 psychological trait should be trained, consecutively, future orientation and self-control, core self-evaluation, and psychological sufficiency. 2) The Royal Thai Army should pay attention to well-being, as well as recognize the effective personnel in order to increase favorable attitude towards work, and reduce job stress.
Keywords: Antecedent model, Quality of work-life, Army personnel