รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเหล่า สายวิทยาการกองทัพบก

Main Article Content

บรรจง มิตรมูลพิทักษ์
สนั่น ประจงจิตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเหล่าสายวิทยาการกองทัพบก


๒) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ


ประสิทธิผลโรงเรียนเหล่าสายวิทยาการกองทัพบกกับข้อมูลเชิงประจักษ์และ ๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบความสัมพันธ์


เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเหล่าสายวิทยาการกองทัพบก โดยเก็บข้อมูลโดยใช้กลุ่มตัวอย่าง


ในโรงเรียนเหล่าสายวิทยาการกองทัพบก เครื่องมือเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล


คือ สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดล


สมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า ๑) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเหล่าสายวิทยาการกองทัพบก ได้แก่ ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพความฉลาดทางอารมณ์ สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาและองค์การแห่งการเรียนรู้ ๒) รูปแบบความ


สัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเหล่าสายวิทยาการกองทัพบกมีความสอดคล้อง


กับข้อมูลเชิงประจักษ์ ๓) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเหล่าสาย


วิทยาการกองทัพบก พบว่า (๑) อิทธิพลทางตรง ๓ ปัจจัย ได้แก่ องค์การแห่งการเรียนรู้ สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา


และภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ ๐.๙๔, ๐.๓๔ และ -๐.๑๔ ตามลำดับ (๒) อิทธิพล


ทางอ้อม ๓ ปัจจัย ได้แก่ ความฉลาดทางอารมณ์ที่ส่งผ่านองค์การแห่งการเรียนรู้ ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพที่ส่งผ่าน


องค์การแห่งการเรียนรู้และสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาและองค์การแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผ่านสมรรถนะผู้บริหาร


สถานศึกษาด้วยค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ ๐.๗๗, ๐.๗๑ และ ๐.๐๑ ตามลำดับ และ (๓) อิทธิพลร่วม


๔ ปัจจัย ได้แก่ องค์การแห่งการเรียนรู้ ความฉลาดทางอารมณ์ ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ และสมรรถนะผู้บริหาร


สถานศึกษา มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ ๐.๙๖, ๐.๗๗,๐.๕๗ และ ๐.๓๔ ตามลำดับ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กรมสุขภาพจิต. (๒๕๔๓). อีคิว: ความฉลาดทางอารมณ์. นนทบุรี: สำนักพัฒนาสุขภาพจิต.

กริช แรงสูงเนิน. (๒๕๕๔). การวิเคราะห์ปัจจัย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

กองการศึกษา กรมยุทธศึกษาทหารบก. (๒๕๔๙). งบประมาณงบงานศึกษาตามหลักสูตร. กรุงเทพฯ: กองการศึกษา กรมยุทธศึกษา

ทหารบก.

จงกล วิเศษขลา. (๒๕๕๔). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, ๑(๒); ๖๓-๖๙.

จิตรา ทรัพย์โฉม. (๒๕๕๖). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผ้นูำแบบเปลี่ยนสภาพของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต ๒ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการ

ศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ดิเรก พรมบาง. (๒๕๔๓). ปัญหาการศึกษาในกองทัพบก. เสนาธิปัตย์ ๔๙(๒); ๓๒-๓๖.

ดิลกฤทธิ์ อภิวัฒนสิงหะ. (๒๕๕๐). ศึกษาความฉลาดทางอารมณ์กับความสำเร็จในการทำงานของผู้บริหารสถานศึกษา

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต ๑ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา).

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ธวัชชัย ตั้งอุทัยเรือง. (๒๕๕๗). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษา ขนาดเล็กสังกัด

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคกลางของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร

การศึกษา). มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

เปรมปรีดิ์ หมู่วิเศษ. (๒๕๔๙). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างองค์ประกอบความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหาร

กับประสิทธิผลโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา).

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พรชนก เกตุกัณฑร. (๒๕๕๑). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำและสมรรถนะหลักของเทศบาลนครนนทบุรี

(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). มหาวิทยาลัยมหิดล.

พัฒนะ สีหานู. (๒๕๕๓). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา).

มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

วิโรจน์ สารัตนะ. (๒๕๔๔). โรงเรียนองค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.

วีรวุธ มาฆะศิรานนท์. (๒๕๔๐). วินัย ๕ ประการ พื้นฐานองค์การแห่งการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ: เอ๊กซเปอร์เนท.

Senge, P.M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York: McGraw-

Hill.