การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารองค์กรภาครัฐด้านการอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในทะเลของประเทศไทย

Main Article Content

นันทริกา ชันซื่อ
สุดาวรรณ สมใจ
ชาญเดช เจริญวิริยะกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบแบบจำลองความสัมพันธ์ รวมถึงศึกษาความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ของตัวบ่งชี้ด้านการบริหารองค์กรภาครัฐด้านการอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยแบบผสม แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาและพัฒนาตัวบ่งชี้ 2) ทดสอบโมเดลความสัมพันธ์ และ 3) ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา กลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่และประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายทะเล จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิเป็นสัดส่วน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และผู้ทรงคุณวุฒิอีกจำนวน 10 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแล้วทำการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวบ่งชี้การบริหารองค์กรภาครัฐด้านการอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลของประเทศไทย ประกอบด้วย การบริหารระบบราชการ การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ โดยมีองค์ประกอบย่อยรวม 20 องค์ประกอบและมีตัวบ่งชี้รวม 84 ตัว 2) แบบจำลองความสัมพันธ์ของตัวบ่งชี้มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ มีน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด รองลงมาคือ การบริหารระบบราชการ และการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ตามลำดับ และ 3) ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่ามีความเป็นไปได้มากในการนำตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้นไปใช้ดำเนินการในเชิงปฏิบัติได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2558). รายงานประจำปี 2558. กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง.

กาญจนา อดุลยานุโกศล, สุรศักดิ์ ทองสุกดี, ธีรวัตร เปรมปรี และเผ่าเทพ เชิดสุขใจ. (2557). คู่มือการจำแนกชนิดสัตว์ทะเล

เลี้ยงลูกด้วยนมและเต่าทะเลในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

จักรวาล สุขไมตรี. (2561). เทคนิคการประสานงานในองค์การ. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์, 5(2), 263-275.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2545). การพัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับการประเมินคุณภาพการบริหารและการจัดการเขตพื้นที่การศึกษา.

กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2551). การพัฒนาตัวบ่งชี้การประเมิน. ใน การประชุมวิชาการเปิดขอบฟ้าคุณธรรมจริยธรรม. กรุงเทพฯ:

ศูนย์คุณธรรม.

เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์, ศรัณย์ เพ็ชร์พิรุณ, สมิท ธรรมเชื้อ, โกมล จิรชัยสุทธิกุล, พวงทอง อ่อนอุระ, สุมาลี สุขดานนท์,

...วันชัย จันทร์ละเอียด. (2550). โครงการสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตของประเทศไทยกับการใช้ทะเล

อย่างยั่งยืน (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเกียรติ ขอเกียรติวงศ์, นฤมล กรคณิตนันท์ และสุพจน์ จันทราภรณ์ศิลป์. (2547). ปริมาณโลหะหนักที่พบในเนื้อเยื่อ

ของวาฬในน่านน้ำไทย (เอกสารวิชาการฉบับที่ 1/2547). กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง.

สมพงษ์ เกศานุช, จำนง ผมไผ, เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร, สัญญา เคณาภูมิ และพระราชรัตนาลงกรณ์. (2560).

การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่: ทิศทางการกำหนดกระบวนทัศน์ในการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬา

ลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย. ธรรมทรรศน์, 17(2), 173-185.

สรวิชญ์ เปรมชื่น. (2559). คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐในระบบราชการไทย. สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน, 9(1), 38-57.

สถาบันดำรงราชานุภาพ. (2553). เทคนิคการประสานงาน (เอกสารความรู้ สดร. ลำดับที่ 18). กรุงเทพฯ: สำนักงาน

ปลัดกระทรวงมหาดไทย.

สุวิมล ติรกานันท์. (2555). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้ง 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2559.

กรุงเทพฯ: บริษัท ลายเส้น ครีเอชั่น จำกัด.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). ข้อมูลตัวชี้วัด“พื้นที่กัดเซาะชายทะเล”. สืบค้นเมื่อ

ธันวาคม 2562, จาก http://www.onep.go.th/env_data/2016/01_31/

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที่ 2

(12 กันยายน 2558-12 กันยายน 2559). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

Cairns, M.A. & Lackey, R.T. (1992). Biodiversity and Management of Natural Resources: The Issues.

Fisheries, 17(3), 6-10.

Titus, T.R. (1992). Biodiversity the Need for the Natural Policy. Fisheries, 17(3), 31-34.

Upton, H. F. (1992). Biodiversity and Conservation of the Marine Environment. Fisheries, 17(3), 20-25.