ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงสวัสดิการ กรมการสื่อสอสารทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะของประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงสวัสดิการ กรมการสื่อสารทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่แตกต่างกัน และ 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงสวัสดิการ กรมการสื่อสารทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ของผู้ใช้บริการ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ใช้บริการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงสวัสดิการ กรมการสื่อสารทหารกองบัญชาการกองทัพไทย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 409 คน วิเคราะห์ข้อมูลสถิติด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์ค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยประชากรศาสตร์ด้านเพศด้านระดับการศึกษา ด้านอาชีพ และด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงสวัสดิการ กรมการสื่อสารทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงสวัสดิการ กรมการสื่อสารทหาร กองบัญชาการ กองทัพไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ส ามารถอธิบายการผันแปรของกระบวนการตัดสินใจใช้บริการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงสวัสดิการ กรมการสื่อสารทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ได้ร้อยละ 71.90 (R2 = 0.719) โดยด้านกายภาพ มีอิทธิพลในการพยากรณ์มากสุด (เบต้า = 0.278) รองลงมา คือ ด้านการส่งเสริมการตลาด (เบต้า = 0.216) ด้านราคา (เบต้า = 0.136) ด้านบุคลากร (เบต้า = 0.127) และด้านผลิตภัณฑ์ (เบต้า = 0.108) ตามลำดับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ภาพ ตาราง กราฟ ข้อเขียน หรือความคิดเห็นในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนไม่ผูกพันกับสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ และทางวิชาการแต่อย่างใดReferences
กองบัญชาการกองทัพไทย, กรมการสื่อสารทหาร. (2557). บันทึกข้อตกลงการก่อสร้างเพื่อปรับปรุงสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลงสวัสดิการ กรมการสื่อสารทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. 26 กันยายน 2557.
กระทรวงพลังงาน, กรมธุรกิจพลัังงาน. (2565). ข่าวสถานการณ์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ปี 2564 (มกราคม-ธันวาคม).สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://www.doeb.go.th/news_activity/2498.pdf
ณัฐพัฒน์ กว้างศิริพร. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ในจังหวัดสมุทรปราการ(สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://dspace.bu.ac.th/
นาถลดา ศรีขจร. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดสำหรับสถานีบริการน้ำมัน (สารนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://digital.library.tu.ac.th/
ผกาภรณ์ บุสบง. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้สถานีบริการน้ำมัน ปตท. ของผู้ใช้บริการในจังหวัดพะเยา.วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 26(1), 179-191.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์ม และ ไซเท็กซ์ จำกัด.
Berry, W. D., and Feldman, S. (1985). Multiple Regression in Practice (Quantitative Applications in the Social Sciences). Newbury Park: Sage Publications.
Booms, B. H., and Bitner, M. J. (1981). Marketing Strategies and Organization Structures For Service Firms. Chicago: American Marketing Association.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.
Inderadi, R., and Setiadi, N. J. (2020). Factors Influencing Consumers’ Preference in Choosing A Petrol Station A Case of Petronas Stations at Ayer Keroh Malaysia. PalArch’s Journal Of Archaeology Of Egypt/Egyptology, 17(7), 2562-2575.
Kotler, P., and Keller, K. L. (2016). Marketing Management. 15th global Edition. Edinburgh: Pearson Education.