การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพพลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษา

Main Article Content

อักษราภัคส์ โกสินรุ่งเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความตรงกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของโมเดลอิทธิพลเชิงสาเหตุุของปัจจัยระดับนักเรียน และปัจจัยระดับห้องเรียน ที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ตามหน่วยการวิเคราะห์สองระดับ 1) กลุ่มตัวอย่างระดับนักเรียน จำนวน 893 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) 2) กลุ่มตัวอย่างระดับห้องเรียน โดยมีครูเป็นผู้ให้ข้อมูล จำนวน 78 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามสำหรับนักเรียน และแบบสอบถามสำหรับครูู การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยายโดยใช้โปรแกรม SPSS 22.0 และวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ (The Multilevel Structural Equation Model: MSEM) โดยใช้โปรแกรม Mplus 8.8


ผลการวิจัย พบว่า โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษามีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 86.903, df = 71, p-value = 0.0966 และ RMSEA = 0.016) โดยโมเดลระดับนักเรียน พบว่า การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย เจตคติต่อการเรียน และความเชื่ออำนาจภายในตน มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนอีกทั้งการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยยังส่งอิทธิพลทางอ้อมต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนโดยส่งผ่านความเชื่ออำนาจภายในตนของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับโมเดลระดับห้องเรียน พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและบรรยากาศในชั้นเรียน มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งตัวแปรทำนายทั้งหมดในระดับนักเรียนและระดับห้องเรียนสามารถอธิบายความแปรปรวนของทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมได้ร้อยละ 71 และ 95 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กรมการจัดหางาน. (2560). ยุทธศาสตร์ การแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนแรงงาน พ.ศ.2560-2564. สืบค้นจากhttps://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/lmia_th/498391d8154f6237d5db6b423d5f1b85.pdf

กรณ์กาญจน์ นนพัชรพงศ์ และบุญมีพันธ์ไทย. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนมาตรฐานสากลเขตภาคเหนือ. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 6(2), 124-134.

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานศึกษาธิการ ภาค 12, กลุ่มยุทธศาสตร์การศึกษา. (2562). รายงานผลการดำเนินงานโครงการประชุมปฏิบัติการสร้างการรับรู้การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา ในระดับพื้นที่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562. สืบค้นจาก http://www.reo12.moe.go.th/web/images/supply/Report-SDG.pdf

กัณหา เทพดุสิต. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดอุดรธานี: การวิเคราะห์กลุ่มพหุ (วิทยานิพินธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กัลยา สร้อยสิงห์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาวิทยาลัยดุสิตธานี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(2), 486-501.

ฉัตรติยา ลังการัตน์. (2560). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดระยอง (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชมพู โกติรัมย์. (2555). ศตวรรษที่ 21 ปัจจัยการผลิตที่ท้าทายก้าวย่างที่ต้องปรับของไทย. สืบค้นจาก http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3866

ธนกฤตา แจ่มด้วง. (2560). แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรตามนโยบายประเทศไทย 4.0. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 5(2), 146-160.

ประทีป คงเจริญ. (2564). ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม: คุณลักษณะสำคัญของพลโลกในยุคเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 15(3), 165-177.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). บรรยากาศการเรียนการสอน : ปัจจัยสำคัญต่อประสิทธิภาพการสอน. วารสารมิตรครู, 32(12), 10-14.

วรรณิกา คูณภาค. (2560). ตัวแปรที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 (วิทยานิพินธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ศิริรัตน์ จำแนกสาร. (2563). หลักการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับโดยใช้ขนาดตัวอย่างและวิธีการประมาณค่าที่เหมาะสม. วารสารการวัดประเมินผล วิจัยและสถิติทางสังคมศาสตร์, 1(1), 12-20.

อรณิชชา ทศตา และกชพร ใจอดทน. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนครราชสีมา. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 26(2), 64-78.

Bandura, A. (1986). Fearful expectations and avoidant actions as coeffects of perceived self-inefficacy. American Psychologist, 41, 1389-1391.

Hair, J. F., Black, B., Babin, B., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis (6th ed.).New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Hox, J. J. (2010). Multilevel Analysis: Techniques and Applications (2nd ed.). New York: Routledge. Partnership for 21st Century Skills. (2019). framework for 21st century learning definition. Retrieved from https://www.battelleforkids.org/networks/p21/frameworks-resources

Roger, D. (1972). Issue in Adolescent Psychology. New York: Meredith Corporation.

Rosenberg, M. J. & Hovland, C. I. (1960). Cognitive, Affective and Behavioral Components of Attitudes. In Rosenberg. M.J. and Hovland, C.I. (Eds.), Attitude Organization and Change: An Analysis of Consistency among Attitude Components. London: Yale University Press.

Rotter, J. B. (1966). Generalized expectancies for internal versus external control of reinforcement. Psychological Monographs: General and Applies, 80(1), 1-28.

United Nations. (2018). Goal 4: Ensure inclusive and quality education for all and promote lifelong learning. Retrieved from https://www.un.org/sustainabledevelopment/education/