การพัฒนาการฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องอุดมการณ์ทางทหารและจิตอาสาเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกความเป็นทหารอาชีพ สังกัดกองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันปประเทศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้้มี วัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาระบบฝึกอบรมออนไลน์ให้มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับข้าราชการทหาร สังกัดกองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการฝึกอบรมออนไลน์ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนทดสอบหลังการฝึกอบรมกับคะแนนการประเมินตนเองด้านความตระหนักความเป็นทหารอาชีพ และคะแนนการประเมินทัศนคติต่อจิตสำนึกความเป็นทหารอาชีพ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อระบบฝึกอบรมออนไลน์
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบฝึกอบรมออนไลน์ เรื่อง อุดมการณ์ทางทหารและจิตอาสา เพื่อส่งเสริมจิตสำนึกความเป็นทหารอาชีพที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนกับกลุ่มตัวอย่างได้ 2) การเปรียบเทียบคะแนนก่อน-หลัง การฝึกอบรมผ่านระบบฝึกอบรมออนไลน์ มีค่าเฉลี่ยของคะแนน หลังการทดลอง ( = 28.83, SD = 0.83) ซึ่งมีค่าเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลอง ( = 16.20, SD = 2.94) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่่ระดับ 0.01 3) คะแนนการทดสอบ หลังการฝึกอบรม คะแนนการประเมินทัศนคติต่อจิตสำนึกความเป็นทหารอาชีพและจิตอาสา มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งมีค่า r = 0.46 และมีค่า t = 0.000 แสดงว่า มีความสัมพันธ์กันในระดับค่อนข้างสูงทางบวกอย่างมีนัยสำคัญ รองลงมา คือ คะแนนทดสอบหลังการฝึกอบรมกับคะแนนการวัดความตระหนักความเป็นทหารอาชีพ ไม่มี ความสัมพันธ์กัน ซึ่งมีค่า 0.27 ค่า t = 0.000 และคะแนนที่มีความสัมพันธ์น้อยที่สุด คือ คะแนนการวัดความตระหนักความเป็นทหารอาชีพกับคะแนนการประเมินทัศนคติต่อจิตสำนึกความเป็นทหารอาชีพและจิตอาสา ซึ่งมีค่า r = 0.31 ค่า t = 0.000 และ 4) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจโดยรวมต่อระบบฝึกอบรมออนไลน์ เรื่อง อุดมการณ์ทางทหารและจิตอาสา เพื่อส่งเสริมจิตสำนึกความเป็นทหารอาชีพของข้าราชการทหารสังกัดกองบัญชาการ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ อยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ภาพ ตาราง กราฟ ข้อเขียน หรือความคิดเห็นในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนไม่ผูกพันกับสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ และทางวิชาการแต่อย่างใดReferences
กองบัญชาการกองทัพไทย. (2559). คู่มือการปลูกฝังและสร้างเสริมอุดมการณ์ทางทหารของกองบัญชาการกองทัพไทย.
ฐาปณีย์ ธรรมเมธา. (2557). จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.
ถนอมพร เลาหจรัลแสง. (2545). คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: วงกมล โพรดักชั่น.
อาชัญญา รัตนอุบล. (2542). การจัดโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาณัติ รัตนถิรกุล. (2558). สร้างระบบ e-Learning ด้วย Moodle ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัดมหาชน.
Discoll, M. (1998). Web-based Training. San Francisco: jossey-Bass Pfeiffer
Knowles, M. S. (1980). The Modern Practice of Adult Education: From Pedagogy to Andragogy. New Jersey: Prentice Hall Regents.
Knowles, M. S., Holton E. F., Swanson, R. A. (2005). The adult learner (6th Ed.). London: Elsevier Inc.
Kolb, D. A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. New Jersey: Prentice Hall